การเสริมสร้างความกล้าหาญของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการให้คำปรึกษากลุ่ม

ผู้แต่ง

  • เอื้ออารีย์ เหมะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความกล้าหาญ, การให้คำปรึกษากลุ่ม, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความกล้าหาญของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เปรียบเทียบความกล้าหาญของนักเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม และ 3) เปรียบเทียบความกล้าหาญของนักเรียนที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มกับนักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2563 ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งหมดจำนวน 8 โรงเรียน จำนวน 366 คน กลุ่มที่สองได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรก ที่มีคะแนนตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่ม จำนวน 16 คน แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 8 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความกล้าหาญของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) หลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม นักเรียนกลุ่มทดลองมีความกล้าหาญสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) หลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม นักเรียนกลุ่มทดลองมีความกล้าหาญสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2560). การให้การปรึกษาวัยรุ่น Adolescents Counseling. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จริยา อัศวเพรชกูล, ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์, และ ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. (2558). การเสริมสร้างพลังทางบวกของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(3), 79-86.

ดวงมณี จงรักษ์. (2549). ทฤษฎีการให้การปรึกษาและจิตบำบัดเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา Research methods in education. กรุงเทพฯ: ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2561). การให้คำปรึกษากลุ่ม (Group Counseling) (1). กรุงเทพฯ: แดเน็กอินเตอร์คอร์เปอร์เรชั่น.

วัชรี ทรัพย์มี. (2556b). ทฤษฎีให้บริการปรึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Corey, G. (2012). Theory & Practice of Group Counseling. Brooks/Cole: Cengage Learning.

Gillham, J. E., และ Seligman, M. E. P. (1999). Footsteps on the road to a positive psychology. Behaviour Research and Therapy, 37, S163-S173.

Krejcie, R. V., และ Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Peterson, C., และ Seligman, M. (2004). Character Strengths and Virtues: A Handbook and Classification: Oxford University Press, USA.

Rashid, T., และ Seligman, M. (2019). Positive Psychotherapy Workbook. United States of America: Oxford University Press.

Rogers, C. R. (1970). Carl Rogers on encounter groups. New York: Harper & Row.

Seligman, M. E. P., และ Csikszentmihalyi, M. (2000). Positive Psychology: An Introduction. American Psychologist, 55(1), 5-14.

Troutzer, J. P. (2006). Integrating Theory, Training, and Practice The Counselor and the Group: Routledge Taylor & Francis Group.

Woodard, C. R., และ Pury, C. L. S. (2007). The Construct of Courage: Categorization and Measurement. Consulting Psychology Journal: Practice and Research, 59(2), 135-147.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25