การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเป็นสถาบันพี่เลี้ยง

ผู้แต่ง

  • สุนันทา แก้วสุข คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • สุธาสินี แสงมุกดา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สมจินตนา จิรายุกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • สุธิดารัตน์ มัทธวรัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโครงการ, สถาบันพี่เลี้ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงาน ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเป็นสถาบันพี่เลี้ยง ปีงบประมาณ 2562 และ2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเป็นสถาบันพี่เลี้ยงที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ อาจารย์ที่รับผิดชอบโครงการ 20 คน ครู/ผู้บริหารของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยทำการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ 4 ฉบับ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยตามแนวคิดทฤษฎีฐานราก และกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบตามกรอบแนวคิดทฤษฏีระบบ แล้วทำการตรวจสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบ โดยจัดประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน เครื่องมือที่ใช้มี 1 ฉบับ เป็นประเด็นที่กำหนดให้ผู้ทรงคุณวุฒิวิเคราะห์และวิจารณ์

             ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงาน มีการจัดอบรม 20 โครงการ โดยเรื่องที่จัดอบรมมี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการผลิตสื่อและการใช้เทคโนโลยี ด้านหลักสูตรและการสอน  ด้านทักษะการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และด้านจิตวิทยาการศึกษา ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการในระดับมากที่สุด ปัจจัยที่ส่งเสริม คือ ด้านบุคลากร ได้แก่ อาจารย์มีความรับผิดชอบและมีความสามารถบริหารจัดการโครงการเป็นอย่างดี ผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียนเครือข่ายให้ความร่วมมือดี และวิทยากรมีความรู้ความสามารถ ด้านงบประมาณ มีงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านการบริหารจัดการ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA และจัดอบรมเน้นการปฏิบัติ และด้านสถานที่และอุปกรณ์ ส่วนมากจัดที่ห้องประชุมของโรงเรียน และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคที่พบ ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ และด้านงบประมาณที่มีผลเกี่ยวข้องกัน คือ ครูในโรงเรียนบางแห่งมีกิจกรรมที่ต้องทำมาก ทำให้การติดต่อประสานงานการจัดอบรมต้องติดต่อหลายครั้ง หรือเมื่อครูมีภารกิจอื่นแทรกทำให้ครูเข้าร่วมอบรมไม่ได้ จำนวนครูที่เข้าอบรมจึงไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณไม่สามารถทำได้ตามที่ขออนุมัติไว้ ด้านสถานที่และอุปกรณ์ อินเตอร์เน็ตของโรงเรียน/ครูช้า ทำให้ครูทำกิจกรรมไม่ทัน 2) ผลการพัฒนารูปแบบ ได้รูปแบบ มีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ส่วนที่ 2 กระบวนการ ส่วนที่ 3 ผลผลิต/ผลลัพธ์ ส่วนที่ 4 ปัจจัยที่ส่งเสริม และส่วนที่ 5 ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค และผลการทดสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบ โดยการจัดประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบที่ได้มีความเที่ยงตรง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

References

ชญานิษฐ์ พราหมเภทย์. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ “ครัวไทยสู่ครัวโลก”ของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลกรุงเทพ .วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

นิศา ชูโต. (2545). การวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แม็ทส์ปอยท์.

นพรัตน์ อรรคโชติ. (2562). รูปแบบการบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program: EP) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?.

เบญจา ยอดดำเนิน-แอ๊ตติกจ์ และกาญจนา ตั้งชลทิพย์. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ:การจัดการข้อมูล การตีความ และการหาความหมาย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัชรี ทองอำไพ และมนตรี แย้มกสิกร. (2560). การบริหารโครงการนวัตกรรมการพัฒนาครู: กรณีศึกษาโครงการวิจัยและพัฒนา ครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ สู่มาตรฐานสากลในเครือข่ายโรงเรียน EIS: ENGLISH FOR INTEGRATED STUDIES ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2558). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวิเคราะห์และประเมินโครงการ. ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2563, จาก https://www.stou.ac.th › stouonline › LOM › data › sec› Lom14.

สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). ค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.moe.go.th/ moe/ th/ th/ news/detail.php?NewsID=47194&Key=news20.Eisner, E. (1976). Educational connoisseurship and criticism: Their form and functions in education evaluation. Journal of Aesthetic Education, 10, 192-193.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25