รูปแบบคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ผู้แต่ง

  • เอื้อมเดือน แก้วสว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เพ็ญศรี ฉิรินัง วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

รูปแบบ, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณภาพชีวิตในการทำงานและการบริหารงานของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การ 2) เพื่อสร้างรูปแบบคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และ 3) เพื่อตรวจสอบรูปแบบคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรในการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขั้นตอนแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณกำหนดกลุ่มตัวอย่างบุคลากรแห่งละ 150 รูป/คน รวม 300 รูป/คน ขั้นตอนที่สองเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 22 รูป/คน และขั้นตอนที่สามเป็นการวิจัยเชิงปริมาณกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 22 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานใช้ตัวแบบสมการโครงสร้าง และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1) การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตในการทำงานและการบริหารงานของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การ พบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงในทิศทางบวกต่อการบริหารงานในกำกับของรัฐและความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.45 และ 0.38 นอกจากนี้พบว่า การบริหารงานของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีอิทธิพลทางตรงในทิศทางบวกต่อความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.27  2) การสร้างรูปแบบคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมี 8 ด้าน 26 วิธีการ และ 3) การตรวจสอบรูปแบบ มี 3 ด้าน ได้แก่ ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของรูปแบบ ภาพรวมรูปแบบอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำไปปฏิบัติและใช้ประโยชน์ได้จริงภายในองค์การ

References

กนิษฐ์ วงศ์บุญมาก และคณะ. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การ โดยพุทธสันติวิธี ในธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8(ฉบับเพิ่มเติม), S198-S212.

ชวนนท์ จันทร์สุข และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(2), 71-88.

นฤมล จิตรเอื้อ และคณะ. (2561). การรับรู้บรรยากาศองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1), 67-86.

นฤมล เอกธรรมสุทธิ์ และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากการประเมินโครงการของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 164-179.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาสน์.

ปิยกนิฏฐ โชติวนิช. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานและความมุ่งมั่นขององค์กรที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัย. วารสารนักบริหาร, 37(1), 83-96.

ภูรีภัทร ห้วยหงส์ทอง. (2561). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน. วารสารวิจัยวิชาการ, 1(3), 123-135.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2563). รายงานการประเมินตนเองระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2562. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มะดาโอะ สุหลง และเขมารี รักษ์ชูชีพ (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติการทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยด้านความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 27(92), 55-61.

ศิริวรรณ วิสุทธิรัตนกุล และคณะ. (2562). ความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์. 12(1), 60-69.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์ และคณะ. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสาร Veridian E Journal Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(3), 2507-2527.

สุมลมาลย์ เตียวโป้. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในองค์การภาครัฐ: กรณีศึกษากระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลัง. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตรัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวิมล จอดพิมาย และปาณิศา ไกรวงษ์. (2563). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ สังกัดสถาบันอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(3), 194-208.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐– ๒๕๖๔. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2563.

เอกวิทย์ มณีธร และวีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2562). การแปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในประเทศไทยสาเหตุ กระบวนการ ผลลัพธ์และปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ. วารสารวิชาการ RMUTT Global Business and Economics Review. 14(1), 1-22.

Baron, R. A. (1986). Behavior in Organization. Boston: Allyn and Bacon.

Bloom N., Kretschmer T., & Reenen J. V. (2006). Work Life Balance, Management Practices and Productivity. London: London School of Economics.

Delamotte, Y. & Takezawa, S. (1984). Quality of Working Life in International Perspective. Geneva: International Labour Office.

Eisner, E. (1976). Education Connoisseurship and Criticism: Their form and Function in Education Evaluation. Journal of Aesthetic Education, 39(2), 192-193.

Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B.J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Person.

Laila Meiliyandrie Indah Wardani and Muhamad Syafiq Anwar. (2019). The Role of Quality of Work Life as Mediator: Psychological Capital and Work Engagement. Humanities & Sciences Reviews, 7(6), 447-463

Madaus, G. F., Scriven, M. S., & Stufflebeam, D. L. (1983). Evaluation Models Viewpoints on Educational and Human Services Evaluation. 8th ed. Boston: Khuwer-Nijhoff Publishing.

Walton, R. E. (1974). Improving Quality of Work Life. Harvard Business Review, 15(5), pp. 12-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25 — Updated on 2021-12-25

Versions