การวิเคราะห์ปัญหาและการออกแบบการวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาไทย : บันไดสู่การวิจัยเพื่อผู้เรียน
คำสำคัญ:
ปัญหาการวิจัย, การออกแบบการวิจัย, การเรียนการสอนภาษาไทยบทคัดย่อ
การการเรียนการสอนภาษาไทยย่อมมีปัญหาหลายอย่างตามมา ทั้งนี้เพราะการสอนเป็นการพัฒนามนุษย์ซึ่งเป็นตัวแปรที่สามารถแปรเปลี่ยนไปได้ตามเหตุปัจจัยต่าง ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนนั้น จำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไข โดยการแก้ไขที่ถูกต้อง เป็นระบบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก็คือการนำวิจัยมาใช้ในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามแม้กระบวนการวิจัยจะสามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้แต่พบว่าครูส่วนใหญ่ขาดการวิเคราะห์ปัญหาอย่างลึกซึ้งและชัดเจน มีแต่เพียงว่าผู้เรียนมีปัญหาแต่ขาดการวิเคราะห์สาเหตุ ปัจจัย หรือสิ่งที่ทำให้ปัญหานั้นเกิดขึ้น อีกทั้งยังขาดแนวทางในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนจึงส่งผลให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข ประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญในการนำวิจัยคือการออกแบบการวิจัย ซึ่งนับเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง การออกแบบกระบวนการวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาไทยเสมือนแปลนพิมพ์เขียวในการสร้างบ้าน หากออกแบบไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นระบบก็จะทำให้งานวิจัยนั้นไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้กระทบต่อการแก้ปัญหาผู้เรียน ดังนั้นบทความนี้จึงมุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาการวิจัยและการออกแบบการวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อจะให้ครูหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีองค์ความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียน การสอนต่อไป
References
ณัฐกิตติ์ สิริวัฒนาทากุล. (2561). การวิจัยเพื่อการเรียนการสอนภาษาไทย. นครปฐม :ปริ้นสวยการพิมพ์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2564 จาก https://bit.ly/2WkiUsE
สุวิมล ว่องวาณิช. (2553). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.