การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เมทริกซ์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการคำนวณประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

THE DEVELOPMENT OF MATHEMATIC ACHIEVEMENT ON MATRIX USING SOFTWARE PACKAGES TO COOPERATIVE LEARNING ACTIVITIES : STAD FOR BACHELOR 1 COMPUTER PROGRAM SURINDRA RAJABHAT UNIVERSITY

ผู้แต่ง

  • เกศสุดา ปราสาทภิญโญ คณะครุศาสตร์
  • โกสุมภ์ จันทร์แสงกระจ่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • พนิดา คำแปล มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

เมทริกซ์, การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการคำนวณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการคำนวณประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเมทริกซ์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ที่เรียนเรื่อง เมทริกซ์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการคำนวณประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เมทริกซ์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการคำนวณประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือ นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 34 คน โดยวิธีเจาะจง  เครื่องมือในการวิจัย ครั้งนี้ประกอบด้วย ชุดโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการคำนวณแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การทดสอบที (t-test)

            ผลการศึกษาพบว่า 1) การใช้ชุดการสอนเรื่องเมทริกซ์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการคำนวณประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 92.31/83.24 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจากการใช้ชุดโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการคำนวณประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01  3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซลประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เมทริกซ์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก

 

           The objectives of this research were to 1) to study the efficiency of using software packages, engaging in cooperative learning activities by grouping method according to academic matrix achievement to be effective according to the criteria 80/80. 2) to compare the academic achievement before learning and after learning who learned about matrix by using software packages, engaging in cooperative learning activities by grouping method according to academic achievement. 3) to study the students' satisfaction with the learning management about matrix by using software packages, engaging in cooperative learning activities by the way, segmented by academic achievement, the sample group; undergraduate 1st year student, computer department, faculty of Science and Technology, Surin Rajabhat University, Mueang District, Surin Province, academic year 2019 consisting of 34 people by specific method. Research tools were consisted of software packages, lesson plan, post-test and a questionnaire of satisfaction, and a questionnaire of learning activities. The statistical methods were used to analyze the data, including average (Mean) percentage, standard deviation (S.D.), and t-Test.

          The study found that 1) To use the software packages, engaging in cooperative learning activities by grouping method according to academic matrix achievement. The efficiency was 92.31 / 83.24 which was higher than the 80/80 criteria. 2) Post-academic achievement by using the software packages, engaging in cooperative learning activities by grouping method according to academic matrix achievement was higher than before studying at statistical significance at the level of .01. 3) Student satisfaction in the software packages, engaging in cooperative learning activities by grouping method, the overall learning achievement was at high level.

References

กนกภรณ์ ทองระย้า. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ STAD เพื่อ ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี.

จิรากร สำเร็จ. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้นเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ที่มีต่อความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นฤมล นาดสูงเนิน. (2552). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาการบัญชีเบื้องต้น 1 เรื่อง สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ (ทุน) โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD). การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2541). การจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร : ต้นอ้อ.

ศิริรัตน์ ชิงดวง. (มกราคม - มีนาคม 2550). “สื่อและนวัตกรรม,” วารสารวิชาการ. 10 (1) : 3.

อัญชนา โพธิพลากร. (2545). การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้วยการเรียนแบบร่วมมือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

อิทธิพล เจริญเมือง. (2554). ได้ศึกษาการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบน ระบบเครือข่ายด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อำนาจ พันธุ์ดิษฐ์. (2551). ศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD). การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-22 — Updated on 2022-06-22

Versions