ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24

THE RESULTS OF USING THE MODEL OF TEACHER COMPETENCY DEVELOPMENT IN EDUCATIONAL INSTITUTIONS BY USING THE PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY UNDER THE OFFICE OF SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA, DISTRICT 24

ผู้แต่ง

  • ธนัฐ มาตชรา โรงเรียนมัธยมภูฮังพัฒนวิทย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู, สมรรถนะครู, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อสมรรถนะครูที่จำเป็นในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ประเมินสมรรถนะครูของตนเองตามรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ3) เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เก็บรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นและประเมินสมรรถนะครูของตนเองจาก ครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมภูฮังพัฒนวิทย์ จำนวน 17 คน และตรวจสอบแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินสมรรถนะครูของตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติที  

ผลการวิจัยพบว่า

1) ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อสมรรถนะครูที่จำเป็นในสถานศึกษา พบว่าครูผู้สอนทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิดเห็นใกล้เคียงกันและสอดคล้องกัน จำนวน 10 สมรรถนะ

2) ผลการประเมินสมรรถนะครูของตนเองตามรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาพบว่า ครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีสมรรถนะหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3) ผลการเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษา พบว่า มีรายการปฏิบัติ 3

รายการดังนี้ 1) ควรจัดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะครูอย่างต่อเนื่องและต่อเนื่องเป็นระยะทุก 1 ปี โดยยึดแนวทางการดำเนินการร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2) ควรมีการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาวิจัยและกรณีตัวอย่างของความร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะครู 3) ควรมีการจัดให้มีการพัฒนาสมรรถนะครูด้วยการเสริมสร้างสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 

The purposes of the research were to 1) to study the teachers' opinions on teacher competency in schools using professional learning communities; 2) to assess their teacher competency according to the model of teacher competency development in schools. And 3) propose guidelines for developing teacher competency in schools by using professional learning communities. Data were collected, opinions, and self-assessment of teachers' competence from 17 teachers at PhuhangPattanawit Secondary School, and examined guidelines for developing teacher competency in schools by using professional learning communities by experts and experts. From 80 stakeholders, the research instruments were questionnaires and self-efficacy assessment forms. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation and test hypotheses with t-test (Dependent).

The results of the research were as follows:

1) The Office of the Basic Education Commission should provide a curriculum

for development; The competence of teachers continuously and continuously every 1 year, based on the guidelines for the joint operation between the educational institutions and the Secondary Education Service Area Office.

2) There should be promotion and support for research studies and case studies of cooperation with educational institutions.

3) Teacher competency development should be established by enhancing teacher competency in schools by using a professional learning community that must be continuously implemented.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

จีรัชญ์พัฒน์ ใจเมือง, สันติ บูรณะชาติ, เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย และสมบัติ นพรัก. (2563). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(2), 55-70.

ชูชาติ แปลงล้วน. (2562). กระบวนการการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(8), 228-245.

ณัฐวุฒิ ใจแน่น และบุญชม ศรีสะอาด. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 270-280.

ธนาพล บัวคำโคตร และไพบูลย์ ลิ้มมณี. (2562). แนวทางพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 89-103.

ปองทิพย์ เทพอารีย์ และมารุต พัฒผล. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครูประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(2), 284-296.

พรทิพย์ อ้นเกษม, ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ, พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ, ประภาพร ชนะจีนะศักดิ์, สุพัฒน์ เศรษฐคมกุล และสุวัทนา สงวนรัตน์. (2560). การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 20(1), 88-102.

ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์ และกรองทอง ออมสิน. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแนวทางการพัฒนาผู้สอนและผู้เรียน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 34(2), 164-172.

โรงเรียนมัธยมภูฮังพัฒนวิทย์. (2561). รายงานผลการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมภูฮังพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561. กาฬสินธุ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24.

วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง. (2562). การพัฒนาสมรรถนะครูคืนถิ่นภาคกลางตอนบนตามมาตรฐานวิชาชีพครูของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. (2561). ข้อมูลสารสนเทศบุคลากร. กาฬสินธุ์: เอกสารอัดสำเนา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทย 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). ปัญหาครู: ปัญหาที่รอการปฏิรูป. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพ. (2561). การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาและพัฒนาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: บริษัทศรีอนันต์การพิมพ์ จำกัด.

อัญชลี แสงอาวุธ. (2563). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎ์ธานี. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 12(2), 118-127.

McKenzie, F. D., & Richmond, J.B. (1998). Linking health and learning: An overview of coordinated school health programs. New York: Teachers College Press.

OECD. (2016, 16 June). Poland-Economic forecast summary. Health grades. http://www.oecd.org/economy/poland-economic-forecast-summary.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20