การประเมินสมรรถนะการวิจัยของบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ไพฑูรย์ โพธิสาร มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • นีรนาท จุลเนียม มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ทองหล่อ วงษ์อินทร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การประเมิน, สมรรถนะการวิจัย, หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะการวิจัยของบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยปทุมธานี และเปรียบเทียบสมรรถนะการวิจัยของบัณฑิตที่มีสถานภาพต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรในปีการศึกษา 2563 จำนวน 35 คน ที่ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัย พบว่า

  • ผลการประเมินสมรรถนะการวิจัยของบัณฑิตโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านคุณลักษณะความเป็นนักวิจัย รองลงมาคือ ด้านความรู้และด้านทักษะการปฏิบัติ
  • ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการวิจัยของบัณฑิตที่มีสถานภาพแตกต่างกัน พบว่า บัณฑิตที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีสมรรถนะการวิจัย ด้านความรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ และโดยรวมไม่แตกต่างกัน และบัณฑิตที่มีขนาดโรงเรียนที่ทำงาน ระดับชั้นที่สอนและตำแหน่งงานต่างกัน มีสมรรถนะการวิจัยทั้งโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. (2562). ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 136 หน้า 18-20)

นพพร แหยมแสง (2560) การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยองกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), หน้า 95-103.

ปิยวรรณ บุญเพ็ญ, ยุทธยา ไชยจูกุล และดุษฏี โยเหลา (2561) สมรรถนะวิจัยและตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ:กรณีศึกษานักวิจัยในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(1) หน้า 73-88.

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (2562) ราชกิจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก. หน้า 54-78.

มหาวิทยาลัยตามคำแห่ง, คณะศึกษาศาสตร์ (2560) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา. (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) (เอกสารอัดสำเนา.

สุทธิพร สายทอง (2562) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัของอาจารย์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กลุ่มภาคเหนือตอนบน . วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(2), หน้า 129-139.

อัญชลี สุขในสิทธิ์ และ อนุพันธ์ คำปัน (2560) การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวโรฒ, 20(20), หน้า 342-354.

อดุลย์ สนั่นเอื้อเม็งไธสง (2560) การศึกษาสภาพปัญหาการวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Journal of Nakhon Ratchasima College, 11(3), pp.156-166.

อรอุมา รุ่งเรืองวณิชกุล (2556) การพัฒนารูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะครูนักวิจัยด้วยการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ สำหรับข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 10, 2564 สืบค้นจาก http://ir.swu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/4153/on-uma_R.pdf?sequence=1

Gall, Joyce P., Gall, M.D., & Borg, Walter R. (2005). Applying Educational Research: A Practical Guide. Boston: Peason.

McClelland, D.C. (1973). Testing for Competence Rather than for “Intelligence”. American Psychologist. 28(1), 1-14. Retrieved November 10, 2021, from https://www.therapiebreve.be/documents/mcclelland-1973. pdf

Spencer, L.M., & Spencer, S.M. (1993). Competence at Work: Models for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20