This is an outdated version published on 2022-02-09. Read the most recent version.

ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของครูประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • นพมาศ พยุงวงษ์ คณะศึกษาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ คณะศึกษาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สมพงษ์ ปั้นหุ่น คณะศึกษาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู, ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับ, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี จำแนกตามระดับบุคคล และระดับโรงเรียน 3) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารและข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 900 คน จากโรงเรียน จำนวน 50 แห่ง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ฉบับ สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ และ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ค่า , , , ,RMSEA = 0.00, CFI = 1.00, TLI = 1.00, SRMRW = 0.006 และ SRMRB = 0.006
  2. 2. ผลการพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ ค่า , , , , RMSEA = 0.022, CFI = 0.99, TLI = 0.99, SRMRW = 0.034 และ SRMRB = 0.089 แบ่งตามระดับการทำนายดังนี้

 

   2.1 ระดับบุคคล พบว่า ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี ได้รับอิทธิพลทางตรงจาก แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู มีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพล เท่ากับ 0.170 และ   - 0.167 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

   2.2 ระดับโรงเรียน พบว่า ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี ได้รับอิทธิพลทางตรงจาก บรรยากาศองค์การ เท่ากับ 0.711  บทบาททางวิชาการของผู้บริหาร เท่ากับ 0.015 และพฤติกรรมผู้นำ เท่ากับ 0.103 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ยังพบว่าตัวแปรทำนายระดับบุคคลที่มีอิทธิพลทางอ้อม ได้แก่ พฤติกรรมผู้นำ ส่งผ่านบรรยากาศองค์การ และ บทบาททางวิชาการของผู้บริหาร ขนาดอิทธิพล เท่ากับ 0.721 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

ณัฐดนัย ไทยถาวร. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี. วารสารบัณฑิตปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8(1),

-245.

นันท์นภัส ชัยสงคราม. (2561). การเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม

ศึกษา สุพรรณบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการศึกษา, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

นิเลาะ แวอุเซ็ง. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้. รายงานการวิจัย, ทุน

อุดหนุนการวิจัยกองทุนวิจัยวิทยาเขตปัตตานี, วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

บัณฑิตา แซ่อือ. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต

วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิสมัย รบชนะชัย พูลสุข. (2559). แนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

กำแพงเพชร เขต 1. การ ประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 3(2), 251-259.

พรพรรณ พิมพา. (2560). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายลาดใหญ่จังหวัดสมุทรสงคราม.

วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.

รัตนะ บัวสนธิ์ และคณะ. (2555). วิทยฐานะของวิชาชีพครู : หนทางส่งเสริมหรือทำลายการศึกษาไทย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14(1), 35-47.

วาสนา ทองทวียิ่งยศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู

ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลธัญบุรี.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี – สฤษดิ์วงศ์.

วิรัชดา ทานิล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. งานนิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). การวิเคราะห์พหุระดับ : Multi – Level Analysis (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC Professional Learning Community. “ชุมชนการเรียนรู้

ทางวิชาชีพ สู่สถานศึกษา”. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563).นโยบาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2563. “การพัฒนาครูและบุคลากร

ทางการศึกษาในรูปแบบ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)”. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการ

ศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุภัทรา สภาพอัตถ์. (2562). การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการ

ศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Goldstien, H. (1995). Multilevel Statistical models (3th ed.). London: Edward Arnold.

Hord, S.M. (1997). Professional learning communities : Communities of continuous inquiry and improvement. Austin, Texas :

Southwest Education Development Laboratory.

Hord, S.M., & Sommers, W.A. (2008). Leading professional learning communities : Voices from research and practice. Thousand

Oak, CA : Corwin Press & National Association of Secondary School Principals.

Muthen, L. K. & Muthen, B. O. (2010). Mplus user’ guide (3rd ed.). California : & Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline : The Art and

Practice of The Learning Organization. New York : Doubleday.

Sergiovanni, T. (1994). Building community in schools. San Francisco, CA : Jossy Bass.

Snijders, T. A. B., & Bosker, R. J. (1999). Multilevel analysis : An introduction to basic and advanced multilevel modeling London : Sage.

Wong, G., & Mason, W. (1985). The hierarchical logistic regression model for multilevel analysis. Journal of American Statistical

Association, 80, 513- 524.

Stevens, J. P.(2002). Applied multivariate statistics for the social science (4th ed.). Mahwah, New Jersey : Lawrence Erlbaum

Associates.

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25 — Updated on 2022-02-09

Versions