ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

FACTORS AFFECTING TEACHERS' PROFESSIONAL DEVELOPMENT SPECIAL EDUCATION CENTER BANGKOK UNDER THE OFFICE OF SPECIAL EDUCATION ADMINISTRATION

ผู้แต่ง

  • สิทธิกร สุทธิประภา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศักดิ์ชัย นิรัญทวี วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : ปัจจัยที่ส่งผล, การพัฒนาวิชาชีพครู, ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และ 2) ศึกษาน้ำหนักการส่งผลของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตำแหน่งข้าราชการ พนักงานราชการ และครูอัตราจ้าง จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.35 ถึง 0.86 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีความสัมพันธ์กันทางบวกในดับระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) น้ำหนักของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านความก้าวหน้าและผลตอบแทน ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านทัศนคติต่อวิชาชีพ และด้านนโยบายขององค์การ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.83 สามารถร่วมกันพยากรณ์การพัฒนาวิชาชีพครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้ร้อยละ 69 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

The objectives of this research were 1) to study the relationship of factors affecting professional development of teachers at the Central Special Education Center, Bangkok. and 2) to study the weight factors affecting professional development of teachers at the Central Special Education Center, Bangkok, under the Office of Special Education Administration, the sample group in this research was teachers in the central special education center, Bangkok. Office of Special Education Administration, Academic Year 2020. The number of state teachers including government employers and contract teachers was 110. The research tool was a 5-level estimation scale questionnaire with a content validity of 1.00, a power of discrimination between 0.35 to 0.86, and a confidence value of 0.98. The statistics used in the data analysis were data point, mean, percent, standard deviation, Pearson's correlation coefficient, and multiple regression analysis.  The results of the research were: 1) factors affecting teacher professional development at the Central Special Education Center, have a positive correlation in a relatively high level. 2) Weight factors affecting professional development of teachers at the Central Special Education Center, Bangkok. under the Office of Special Education Administration in order of importance are progress and reward. motivation for achievement professional attitude and the policy of the organization with a multiple correlation coefficient of 0.83, can jointly predict teacher professional development at the Central Special Education Center, 69% had a statistical significance at the .01 level.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษา พิเศษขั้นพื้นฐานสำหรับ ประเภทความพิการ เพื่อการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

นีรนุช หนุนภักดี. (2551). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลสามโก้อำเภอสามโก้จังหวัดอ่างทอง.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.

เบญจวรรณ อินต๊ะวงศ์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูสายผู้สอน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. การค้นคว้าด้วยตนเองปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546. (24 พฤษภาคม 2546). ราชกิจจานุเบกษา. 120(52ก). หน้า 2.

พิชิต ฤทธิ์จรญู และคณะ. (2555). การวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครูและบุคลากร ทางการศึกษา. วารสารการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 เดือน ตุลาคม 2554 - มีนาคม 2555. หน้า 117-128.

วรรณี เจตจำนงนุช และคณะ.(2560) มาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ. วารสารวิธีวิทยาการ วิจัย 30, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560): 161-186.

ศรียา นิยมธรรม. (2546). การศึกษาพิเศษ. โครงการสารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.

สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย. (2546). พฤติกรรมในองค์การ. กรุงเทพฯ :เอราวัณการพิมพ์.

สมัคร ชินบุตร. (2545). ทางเลือกในการพัฒนาตนเองของครู. วิทยาจารย์, 101(2), หน้า 19 - 22.

สุดารัตน์ ธีรธรรมธาดา. (2557). ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ และความฉลาดทางอารมณ์ ที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2551). รวมกฎหมายสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาสำหรับผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคคลากรทางการศึกษา.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2551). คู่มือการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการสำหรับโรงเรียนเฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Carlson, E., Lee, H., & Westat, K. S. (2004). Identifying attributes of high-quality special education teachers. Teacher Education and Special Education, 27(4),92-101

Krejcie, R. V. and Morgan D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological measurement, 30(3), 607-610.

McClelland, D. C., Atkinson, J. W., Clark, R. A., & Lowell, E. L. (1953). The achievement motive. New York: Appleton-Century-Crofts.

McClelland, David C. (1961). The Achieving Society. New York: D. Van Nostrand Company Ine.

Ogomaka, U.J. (1986). “The Factors Which Notivate California Credentialed Teacher to Teach in Los Angles Archdiocesand High Schools,” Dissertation Abstracts International. 46 (12) : 3536-A.

Robin, Gibson and Smith Hunt. (2000). A Study of Teacher Evolution as Its Affects the Attitude and Performance of Teachers. Michigan: The Central Michigan University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-23 — Updated on 2022-06-23

Versions