This is an outdated version published on 2022-06-23. Read the most recent version.

ว่าที่ร้อยตรี ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ผู้แต่ง

  • สิทธิกร สุทธิประภา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศักดิ์ชัย นิรัญทวี วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : ปัจจัยที่ส่งผล, การพัฒนาวิชาชีพครู, ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และ 2) ศึกษาน้ำหนักการส่งผลของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตำแหน่งข้าราชการ พนักงานราชการ และครูอัตราจ้าง จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.35 ถึง 0.86 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

             ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีความสัมพันธ์กันทางบวกในดับระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) น้ำหนักของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านความก้าวหน้าและผลตอบแทน ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านทัศนคติต่อวิชาชีพ และด้านนโยบายขององค์การ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.83 สามารถร่วมกันพยากรณ์การพัฒนาวิชาชีพครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้ร้อยละ 69 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : ปัจจัยที่ส่งผล, การพัฒนาวิชาชีพครู, ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษา พิเศษขั้นพื้นฐานสำหรับ ประเภทความพิการ เพื่อการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

นีรนุช หนุนภักดี. (2551). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลสามโก้อำเภอสามโก้จังหวัดอ่างทอง.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.

เบญจวรรณ อินต๊ะวงศ์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูสายผู้สอน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. การค้นคว้าด้วยตนเองปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546. (24 พฤษภาคม 2546). ราชกิจจานุเบกษา. 120(52ก). หน้า 2.

พิชิต ฤทธิ์จรญู และคณะ. (2555). การวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครูและบุคลากร ทางการศึกษา. วารสารการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 เดือน ตุลาคม 2554 - มีนาคม 2555. หน้า 117-128.

วรรณี เจตจำนงนุช และคณะ.(2560) มาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ. วารสารวิธีวิทยาการ วิจัย 30, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560): 161-186.

ศรียา นิยมธรรม. (2546). การศึกษาพิเศษ. โครงการสารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.

สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย. (2546). พฤติกรรมในองค์การ. กรุงเทพฯ :เอราวัณการพิมพ์.

สมัคร ชินบุตร. (2545). ทางเลือกในการพัฒนาตนเองของครู. วิทยาจารย์, 101(2), หน้า 19 - 22.

สุดารัตน์ ธีรธรรมธาดา. (2557). ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ และความฉลาดทางอารมณ์ ที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2551). รวมกฎหมายสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาสำหรับผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคคลากรทางการศึกษา.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2551). คู่มือการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการสำหรับโรงเรียนเฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Carlson, E., Lee, H., & Westat, K. S. (2004). Identifying attributes of high-quality special education teachers. Teacher Education and Special Education, 27(4),92-101

Krejcie, R. V. and Morgan D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological measurement, 30(3), 607-610.

McClelland, D. C., Atkinson, J. W., Clark, R. A., & Lowell, E. L. (1953). The achievement motive. New York: Appleton-Century-Crofts.

McClelland, David C. (1961). The Achieving Society. New York: D. Van Nostrand Company Ine.

Ogomaka, U.J. (1986). “The Factors Which Notivate California Credentialed Teacher to Teach in Los Angles Archdiocesand High Schools,” Dissertation Abstracts International. 46 (12) : 3536-A.

Robin, Gibson and Smith Hunt. (2000). A Study of Teacher Evolution as Its Affects the Attitude and Performance of Teachers. Michigan: The Central Michigan University.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-23

Versions