การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์
CREATIVITY DEVELOPMENT OF EARLY CHILDHOOD BY ORGANIZING CREATIVE ARTS EXPERIENCES.
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 นักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติทดสอบที (t-test) แบบ dependent
ผลการเปรียบเทียบผลการศึกษาการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 นักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนอัตตาภิวัฒน์ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนการทดลองเท่ากับ 12.90 และการทดสอบหลังการทดลอง เท่ากับ 16.60 ปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทอลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 2.82, SD = 0.39 ) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดโดยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (M = 2.85, SD = 0.14 ) รองลงมา คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรม (M = 2.80, SD = 0.25) และด้านการจัดการเรียนรู้เป็นลำดับสุดท้าย(M = 2.78, SD = 0.22) ตามลำดับ
This research aims to study the creative development of early childhood children by organizing creative arts experiences. The sample group of Kindergarten Year 1 students, male and female students, aged between 4-5 years, are studying in Kindergarten Year 1, semester 2, Academic Year 2021 at Attaphiwat School. Ban Phaeo District Samut Sakhon Province Under the Office of the Private Education Commission, Academic Year 2021, 20 people were obtained by selecting a specific model. The research tools consisted of a learning management plan. and the satisfaction assessment form for the activities of creative development of early childhood children by organizing creative arts experiences. The statistics used in the data analysis were mean (M), standard deviation (SD), and dependent t-test.
Comparison of the results of a study on creative development of early childhood children by organizing creative arts experiences before and after school of Kindergarten Year 1 students, male and female students aged between 4-5 years studying in Kindergarten Year 1, semester 2, Academic Year 2021, Attaphiwat School Ban Phaeo District Samut Sakhon Province It was found that the mean achievement score before the experiment was 12.90 and the test after the experiment was 16.60. Creativity after the experiment was significantly higher than before weaving at the .05 level.
The results of the study on the satisfaction of preschool children towards the creative development activities of early childhood children by organizing creative arts experiences. The results of the data analysis revealed that The preschool children were satisfied with the creative development activities of early childhood children by organizing creative arts experiences at a high level (M = 2.82, SD = 0.39 ). The learning atmosphere was the highest mean with a high level of satisfaction (M = 2.85, SD = 0.14), followed by the benefit received from participating in the activities (M = 2.80, SD = 0.25. ) and learning management was the last order (M = 2.78, SD = 0.22), respectively.
References
ขนิษฐา บุนนาค. (2562). การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย. https://www.youngciety.com/article/journal/arts-for-kids.html
ชลธิชา ชิวปรีชา. (2554). ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ท ากิจกรรมศิลปะด้วยใบตอง (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (Master's thesis)). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
นฤมล ไกรฤกษ์. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมศิลปะต่างรูปแบบ โรงเรียนวัดดุสิตาราม. (ปริญญานิพนธ์ คบ. หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย : คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. โรฒ, กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2555). นวัตกรรมการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย. นนทบุรีฯ: บุ๊คพอยท์วิชาการ.
ประจักษ์ ปฏิทัศน์. (2562). การคิดเชิงระบบและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประนัดดา รัตนไตรมาส. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบต่อเติมที่มีต่อพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (Master's thesis)). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ผกากานต์ น้อยเนียม. (2556). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี ที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปสร้างสรรค์ด้วยดิน. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (Master's thesis)). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
พรเพ็ญ บัวทอง. (2555). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติท้องถิ่นที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (Master's thesis)). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
รัฐนนท์ สว่างผล. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังการทดลองสอนด้วยชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดวิธีการของอารี สุทธิพันธุ์. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (Master's thesis)).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิกรุงเทพฯ.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2556). จิตวิทยาเด็กและผู้ใหญ่ที่มีลักษณะพิเศษ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี) กระทรวงศึกษาธิการ.
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล. (2561). เอกสารคำสอนวิชา ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ ศูนย์การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุธาสินีน์ บุรีคำพันธ์ และวริศรา เกตุสุวรรณ์. (2562). การศึกษากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อออกแบบชุดกิจกรรมศิลปะ สำหรับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็ก. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(1), 78-88.
อารี พันธ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kim, S., Choe, I., และ Kaufman, J. C. (2019). The development and evaluation of the effect
of creative problem-solving program on young children’s creativity and character. Thinking Skills and Creativity, 33.
Shahsavari, M. (2012). Jean Piaget’s Ideas About Foundations of Education. Australian Journal of Basic and Applied Sciences, 185-188.