การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคแชโดอิ้งของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ชนมกร ประไกร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • รักษ์ทวี เถาโต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • มงคล สารินทร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระบุญฤทธิ์ อภิปุณฺโณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ, เทคนิคแชโดอิ้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคแชโดอิ้ง ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบฝึกบทสนทนาภาษาอังกฤษ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทักษะการพูดภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจผู้เรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคแชโดอิ้ง สถิตที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการทดสอบค่าที (t-test) โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า (1) ประสิทธิภาพการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคแชโดอิ้งของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยรวมคิดเป็นร้อยละ 89.8 (2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการพูดภาษาอังกฤษใช้เทคนิคแชโดอิ้งของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (3) ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคแชโดอิ้ง ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

References

ตวงทิพย์ โสฬสเสาวภาคย์. (2557). การพัฒนากิจกรรมสถานการณ์จําลอง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในด้านการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้บริบทเมืองเพชรบุรีสําหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วิทยาลัยอาชีพเพชรบุรี, เพชรบุรี.

ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ. (2554). ผลการฝึกแชโดลิ้งต่อการพัฒนาทักษะการพูด : ด้านความเร็วและความถูกต้อง. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา สมาคมญี่ปุ่นศึกษาแห่งประเทศไทย ปีที่ 1 (เล่ม 1), หน้า 78 - 89.

ธีราภรณ์ พลายเล็ก. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร, วารสารวิจัยและพัฒนา, 52-58.

ยุพกา ฟูกุชิม่า. (2558). ประสิทธิผลของการฝึกแชโดอิ้งต่อการเรียนรู้เสียงสูงต่ำภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทย, วารสารญี่ปุ่นศึกษา, ปีที่ 33 (เล่ม 1), หน้า 71 - 90.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อุไร มากคณา. (2556). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ พื้นที่ไกลกังวล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, ประจวบคีรีขันธ์.

Baddeley, A.D. (2000). The episodic buffer: a new component of working memory? Trends in Cognitive Sciences (Vol.4 No.11), pp. 417-423.

Baddeley, A.D.&Hitch,G.J. (1974). Working memory, In.G.A.Bower (ed.) The Psychology of Learning and Motivation (Vol.8.), New York: Academic Press, 47-89.

Kadota, S. (2004).『シャドーイングと音読の科学』コスモピア.

Karasawa, M. (2009).「シャドーイングが日本語学習者にもたらす影響―短期練習に.

Takako Toda. (2006). 「発音の達人」とはどのような学 習者か―フォローアップ・インタビューから わかること―」『第二言語における発音習得 プロセスの実証的研究』平成16年度~17年 度科学研究費補助金基盤研究(C)研究成 果報告書,19-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-20