การสังเคราะห์งานวิจัยด้านจรรยาบรรณวิชาชีพครู ระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2564 เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ:
จรรยาบรรณวิชาชีพครู, แนวทางพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้, โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการปฏิบัติตนของครูตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูและบทบาทการสนับสนุนของผู้บริหารจากการสังเคราะห์งานวิจัยด้านจรรยาบรรณวิชาชีพครู ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 – 2564 และ 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครูและนำมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ในการสังเคราะห์งานวิจัยด้านจรรยาบรรณวิชาชีพครู ระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2564 ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับ มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และงานวิจัยของบุคลากรทางการศึกษา ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพครู ที่ตีพิมพ์ในช่วงปี พ.ศ. 2553 – 2564 จำนวน 50 เรื่อง โดยนำผลการวิเคราะห์มาบูรณาการกับการสำรวจแนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จากผู้บริหารและครูของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 12 โรงเรียน และได้สร้างแนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยโดยยึดแนวคิดของ Peter M. Senge เป็นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตามแนวคิดของครู สรุปได้เป็น 5 ด้าน 11 แนวทาง และตามแนวคิดของผู้บริหาร สรุปได้เป็น 5 ด้าน 10 แนวทาง โดยทุกแนวทางมีความสอดคล้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 และแนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ 5 ประการของ Peter M. Senge ซึ่งแนวทางที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถเป็นแนวทางให้ครูและผู้บริหารของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นำไปใช้ในการพัฒนาตนเองและโรงเรียนให้เกิดเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อผลิตนักเรียนให้มีความสามารถระดับสูงเยี่ยมก้าวสู่ความเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ นักคิดค้น ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี อีกทั้งสามารถสร้างองค์ความรู้เพื่อนำมาพัฒนาสังคม ประเทศชาติและสามารถเผยแพร่สู่ระดับนานาชาติได้
References
ณัฏฐ์ โอ้จินดา. (2563). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
นงลักษณ์ วิรัชชัย,ทิศนา แขมมณี. (2546). เก้าก้าวสู่ความสำเร็จในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและการสังเคราะห์งานวิจัย. กรุงเทพฯ : บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
บุญเรียง ขจรศิลป์. 2543. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: พี.เอ็น.การพิมพ์.
พรรณอร อุชุภาพ. (2561). การศึกษาและวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนะ บัวสนธ์. (2555). วิธีการเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและประเมิน. กรุงเทพ ฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
ภาณุวัฒน์ กาดแก้ว. (2559). มิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
เมธาวี คำภูลา,วันทนา อมตาริยกุล. (2564). แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 355-356.
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี. (2560). หลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2560. โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี, เพชรบุรี.
ศูนย์พัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์. (2562). การพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในช่วงระยะเวลาต่อไป. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย : การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hambleton, R.K., and Rogers, H.J. (1984). Validating the test scores. In R. A. Berk. (Ed). A guide to criterion – referenced test construction. (199 – 223). Baltimore and London : The Johns Hopkins University Press.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Senge, P. M. (2006). The Fifth Discipline : The art practice of the learning organization . New york: Random House Business.