ศึกษาความสามารถในการเขียนเรื่องจากภาพโดยใช้จินตนาการของผู้เรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา ศรีวรกุล สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • นีรนาท จุลเนียม สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การเขียนเรื่องจากภาพ, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีมุ่งหมายเพื่อ 1.เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรื่องจากภาพโดยใช้จินตนาการของผู้เรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการร่วมมือในการเขียนเรื่องจากภาพโดยใช้จินตนาการของผู้เรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC และ

  1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลรัศมี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 จำนวน 25 คน ได้มาจากการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนเรื่องจากภาพ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนเรื่องจากภาพ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐาน โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการเขียนเรื่องตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC พบว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการเขียนเรื่องตามจินตนาการของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
  2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC พบว่า ค่าเฉลี่ยทักษะการร่วมมือของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะ และจัดเรียงตามค่าเฉลี่ย (X) จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ทักษะการจัดตั้งกลุ่ม ทักษะการสรุปความคิด ทักษะการปฏิบัติงานกลุ่ม และทักษะการคิดเชิงระบบ
  3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC ร่วมกับแผนภาพความคิด พบว่า ความคิดเห็นภาพรวมต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC ร่วมกับแผนภาพความคิด อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด โดยพิจารณาเป็นรายด้าน และจัดเรียงตามค่าเฉลี่ย (X) จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับและด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

References

กาญจนา คุณารักษ์. (2558). การออกแบบการเรียนการสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

กาญจนา นาคสกุลและคณะ. (2561). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). ความคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.

จารวีย์ คีรีนิล. (2561). ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนประจวบวิทยาลัย. สัมภาษณ์, 30 พฤศจิกายน.

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช. (2545). คู่มือการเขียนแผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ฟงสิกส์เซ็นเตอร์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ชาตรี เกิดธรรม. (2545). เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ถาวร แก้วสีหาบุตร. (2549). “การพัฒนาทักษะการอ่าน-การเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ประถมศึกษาปีที่ 5) โดยการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือกันเรียนรู้.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ธัญญา ผลอนันต์, ผู้แปล. (2551). Xind Xaps ฉบับคนพันธุ์ใหม่วัยใส ๆ. กรุงเทพฯ: ขวัญข้าว’94.

ธัญญา และขวัญฤดี ผลอนันต์. (2550). Xind Xap กับการศึกษาและการบริหารความรู้. กรุงเทพฯ: ขวัญข้าว’94.

นาตยา ปงลันธนานนท์. (2543). การเรียนแบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ : จูนพับลิซซิ่ง.

นิตติยา ตั้งเจริญ. (2559). “การพัฒนาทักษะการเขียนความเรียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับภาพการ์ตูน.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บันลือ พฤกษะวัน. (2533). พัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2535). ระเบียบการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.

ประภาสินี ปงงใจ. (2555). “ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้โมเดลกราฟฟงติที่มีต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจและทักษะการร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงษ์กรณ์ วีรพิพรรธน์. (2554). “ผลการใช้รูปแบบจิ๊กซอว์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจนา เขียนสะอาด. (2547). “การศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านและการเขียนเรื่องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรณรงค์ ชาญรุ่งโรจน์. (2557). คิดสร้างสรรค์จากจินตนาการ. กรุงเทพฯ: แปลน พริ้นติ้ง.

พิเชษฐ พูนจินดาถาวร. (2561). ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ. สัมภาษณ์, 30 พฤศจิกายน.

เพชรรัตน์ ยุรี. (2558). “การศึกษ าความสาม ารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภาวดี จิตมัย. (2558). “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกัน เทคนิค CIRC และจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนเพื่อการสื่อสารแบบ 3Ps.” วิทยานิพนธ์ปริญญ าศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2549). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร

วนิดา กุลภัทร์แสงทอง. (2554). “การพัฒนาแบบฝึกการเขียนเรื่องจากภาพโดยใช้จินตนาการของผู้เรียน และสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิด การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). พัฒนาการเรียนการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศริญดา เทียมหมอก. (2557). “การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้สาระท้องถิ่นร่วมกับแผนที่ความคิด.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศรีพระจันทร์ แสงเขตต์. (2557). “การพัฒนาความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นป ระถมศึกษ าปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดร่วมกับแบบฝึกทักษะภาพการ์ตูน.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2553). หลักการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2544). กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สังวาลย์ คงจันทร์และคณะ. (2542). การใช้ภาษาไทย 2. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สายใจ ภูสีเขียว. (2556). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนตามจินตนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สื่อประสม.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทยคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ : เรียงความ ย่อความและสรุปความ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สกสค. ลาดพร้าว.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). เครื่องมือวัดและประเมินผลความสามารถทักษะ “เขียนคล่อง”(ฉบับกรรมการสอบ). เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562. เข้าถึงได้จาก http://www.sk1edu.go.th/dta/.

สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2536). วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรัตน์ คำหอมรื่น. (2558). “การพัฒนาความสามารถในการแต่งกลอนสุภาพ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึก.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวรรณา อ่อนเบา. (2561). ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนคลองเกลือ. สัมภาษณ์, 30 พฤศจิกายน.

สุวิมาลย์ ยืนยั่ง. (2556). “การพัฒนาทักษะอ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค CIRC.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

แสงระวี ประจวบวัน. (2553). “การพัฒนาทักษะการเขียนความเรียงโดยใช้แบบฝึกทักษะที่ใช้วิธีการแผนที่ความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัจฉรา ชีวพันธ์. (2550). กิจกรรมการเขียนสร้างสรรค์ในชั้นประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอนฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

Block, C. C. (2004). Power thinking : how to way you think can change the way you lead. San Francisco: Jossey Bass.

Buzan, T. (1997). Use your head. London: BBC Book.

Johnson D.W., and Johnson, P.F (2000). Joining together: group theory and group skill. 7th ed. Englewood Cliffs: Prentice Hall.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning : Theory, Research and Practices. Englewood Cliffs: Prentice Hall. อ้างถึงใน วัชรา เล่าเรียนดี.

(2547). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิด การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning : Theory, Research and Practices. Englewood Cliffs: Prentice Hall. อ้างถึงใน วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25