วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยในศตวรรษที่ 21 : แนวทางเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง

ผู้แต่ง

  • คชา ปราณีตพลกรัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • พัชรพร สาลี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • กุลภัสสรณ์ สู่โนนทอง นักวิชาการอิสระ
  • ชลลัดดา สายนาโก นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้, วรรณคดีไทย, การคิดขั้นสูง

บทคัดย่อ

วรรณคดีไทยเป็นมรดกล้ำค่าของคนไทย เป็นเครื่องมือสะท้อนสังคมไทยในแต่ละยุคแต่ละสมัย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้นักเรียนต้องเรียนวรรณคดี และวรรณกรรม ซึ่งครูจะต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนวรรณคดีและวรรณกรรมในฐานะมรดกของชาติ โดยกิจกรรมดังกล่าวจะต้องพัฒนาทั้งองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการ ตลอดจนเจตคติที่ดีในการเรียนวรรณคดี การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วรรณคดีจะบรรลุเป้าหมาย ครูจึงต้องมีนวัตกรรมทางการสอนหลายแบบ ทั้งรูปแบบการสอนต่าง  ๆ ตลอดจนสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเชื่อมโยงการเรียนรู้กับชีวิตจริงได้ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงแนวทางในการจัดการเรียนรู้วรรณคดีทีส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน ได้แก่  1) การตั้งคำถามตามแนวคิดของบลูม 2) แนวทางการใช้เทคนิค CIRC  3) ทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน 4) รูปแบบวิธีการเรียนการสอนด้วยวิธีวิจัย

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงทพฯ.

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2546). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2555). วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง. (2556). วรรณคดีกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทิศนา แขมณี. (2557). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเพทฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์เปอเรชั่น

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ในศตวรรณที่ 21. นิตยสารสสวท. ปีที่ 42 (ฉบับที่ 188), หน้า 3.

จุฬาลักษณ์ คชาชัย. การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐพงษ์ ญาณวัฒนะ. (2559). การศึกษาความสามารถในการวิเคราะห์วรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีวิจัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรทิพย์ ศิริสมบูรณ์เวช. (2547). การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการตอบสนองต่อวรรณคดี การอ่านเพื่อความเข้าใจและการคิดไตร่ตรองของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชญา มณีศร. (2557). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนวรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสะเมิงพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภารตี โพธิ์ราม. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคตั้งคำถามตามแนวคิดบลูมในการส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

มะลิวัลย์ พรนิคม. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านวรรณคดีไทย โดยใช้เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศรีวิไล ดอกจันทร์. (2528). ทฤษฎีและปฏิบัติการวรรณคดีศึกษา.กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.

ศึกษาศาสตร์ มมร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20