การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ผ่าน 6 กิจกรรมหลักประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ชมพูพราว มิ่งมงคล สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • อุษาพร เสวกวิ วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กัลยรัตน์ หล่อมณีนพรัตน์ วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์, การส่งเสริมทักษะเด็กปฐมวัย, 6 กิจกรรมหลักประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

ทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีอยู่ในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยในทุก ๆ วัน ครูหรือผู้ปกครองควรตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมทักษะทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หากเด็กปฐมวัยมีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ที่ดี จะเป็นผลดีต่อการดำรงชีวิตและการเรียนในระดับที่สูงขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ผ่านการจัด 6 กิจกรรมหลักประจำวันของเด็กปฐมวัยได้แก่ 1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 2. กิจกรรมสร้างสรรค์    3. กิจกรรมเสรี 4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 5 .กิจกรรมกลางแจ้ง 6. กิจกรรมเกมการศึกษา ให้มีการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น จากการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ผ่านการจัด 6 กิจกรรมหลักประจำวันของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการเพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์เข้าไปนั้น พบว่า ทักษะทางด้านคณิตศาสตร์สามารถนำมาสอดแทรกได้ในทุกกิจกรรมของการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย และจะทำให้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น ครูผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ของสถานศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐.กรุงเทพมหานคร : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

กอบกุล พลหาญ. (2552). การจัดประสบการณ์แบบโครงงานสำหรับพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.

กุลยา ตันติผลชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบส บุคส์.

จินตรา ทองคำ. (2552). การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ขวบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข ที่ได้รับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ . สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=170157&bcat_id=16.

ธีรภรณ์ ภักดี. (2560). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

นฤมล ปิ่นดอนทอง. (2544). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเล่นเกมสร้างมโนทัศน์ด้านจํานวน. ปริญญานิพนธ์. กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิตยา ประพฤติกิจ. (2541). คณิตศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

นิสา พนมตั้ง, ประวิต เอราวรรณ์, ไพบูลย์ บุญไชย. (2554). วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (ก.ค. 2554) หน้า 201-209. /)

นุจิรา เหล็กกล้า. (2561). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษาของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่2 โรงเรียนบ้านบางแก้ว (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัย ราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.)

บุญชม ศรีสะอาด. (2524). รูปแบบของผลการเรียนในโรงเรียน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2524.)

ปานิตา กุดกรุง. (2553). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การศึกษาปฐมวัยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

เพ็ญจันทร์ เงียบประเสริฐ. (2542). คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. ภูเก็ต: คณะครุศาสตร์สถาบัน ราชภัฏภูเก็ต.

ยุพิน พิพิธกุล. (2519. การสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : กรุงเทพการพิมพ์.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แม็ค.

วรนุช นิลเขต. (2554). ผลของการเรียนรู้จากการปฏิบัติกิจกรรมที่มี ต่อทักษะทางคณติศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วสันต์ เดือนแจ้ง. (2546). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 .ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมทรง สุวพานิช. (2546). การนับ (Counting) กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้คณิตศาสตร์. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำรวย หาญห้าว. (2560). วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : ปีที่ 18 ฉบับที่ 1เดือนมกราคม – มิถุนายน 2560

สิริมณี บรรจง. (2549). เด็กปฐมวัยกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.)

อริสา โสคำภา. (2560). แผนการจัดประสบการณ์ ชุดบูรณาการปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี). กรุงเทพฯ: บริษัท อักษร อินสไปร์ จำกัด.

ศึกษาศาสตร์ มมร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20