สมรรถนะสำคัญในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • สมคิด สกุลสถาปัตย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง “สมรรถนะสำคัญในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน”เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสมรรถนะสำคัญและพฤติกรรมบ่งชี้ในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการวิจัยโดยใช้เทคนิคการวิจัย คือ การวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้/ประสบการณ์การบริหารจัดการการศึกษาเชิงกลยุทธ์ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 คน การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ  ที่มีองค์ความรู้/ประสบการณ์การบริหารจัดการการศึกษาเชิงกลยุทธ์จำนวน 6 คนเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ตลอดจนดำเนินการตรวจสอบยืนยันด้วยวิธีการประเมินตามกระบวนการอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้/ประสบการณ์การบริหารจัดการสถานศึกษาจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบตรวจสอบรายการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการประมวลผลการตรวจสอบยืนยัน คือ ความถี่และร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะสำคัญในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 5 สมรรถนะ คือ 1)การวินิจฉัยองค์การโดยพลังร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2)การกำหนดทิศทางองค์การตามกรอบคิดเชิงยุทธ์ที่เป็นไปได้ 3)การสร้างกลยุทธ์ที่แตกต่างโดดเด่นสอดรับกับสถานการณ์ที่เผชิญ 4)การถ่ายทอดกลยุทธ์สู่การปฏิบัติเน้นการสร้างคุณค่าแบบองค์รวม และ5)การควบคุม ประเมินและปรับเปลี่ยนเชิงยุทธ์ยึดห่วงโซ่คุณค่าเป็นหลัก

References

โกสินทร์ ทินฺนญาโณ.(มกราคม-เมษายน 2564). “กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษา.” วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 1(1):35-46.

เขมณัฐ ภูกองไชย. (2556). องค์การและการจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

จันทิมา บุญอนันต์วงศ์และคณะ.(พฤษภาคม-สิงหาคม 2560). “การวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.”วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(2): 318-333.

ชัชชญา พีระชรณิศร์.(2563). “ความท้าทายการจัดการศึกษาในยุค Disruptive Change ของผู้บริหาร สถานศึกษา.” ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 4(2): 126-139.

ชินวัตร เชื้อสระคู.(พฤษภาคม-สิงหาคม 2562). “การบริหารเชิงกลยุทธ์ : ความท้าทายและข้อเสนอแนะในการจัดการทรัพยากรมนุษย์องค์กรภาครัฐ.”วารสารการเมืองการปกครอง.9(2): 200-215.

ชุติกาญจน์ อุ่นประเดิมและคณะ.(มกราคม-เมษายน 2561). “การวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1.”บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.14(1): 205-219.

ณัฐพันธ์ เขจรนันทน์.(2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ดำรงค์ วัฒนา.(2563). การถ่ายทอดยุทธศาสตร์สู่่การปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุชจรินทร์ ปิ่นทองและคณะ.(พฤษภาคม-สิงหาคม 2559). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10.” Veridian E-Journal, Silpakorn Universityฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ.9(2): 801-814.

บุญทิพย์ ใหญ่เลิศ.(เมษายน-มิถุนายน 2565).“การพัฒนาแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32.” วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.10(39): 122-131.

ปัญญากร เวชชศาสตร์และคณะ.(มกราคม-เมษายน 2565). “รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี.” วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 9(1): 231-248.

ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา.(2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพโรจน์ ปิยะวงศ์วัฒนา. (2561).การจัดการเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ อุปถัมภ์.(2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการศึกษา). สุราษฎร์ธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

พฤทธิ์ เทศจีบ.(กรกฎาคม-กันยายน 2552).“การถดถอยขององค์การและแนวทางปรับตัวสู่ความเป็นเลิศ.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 29(3) : 206-218.

ภิรญา ขัตติยะและคณะ.(มกราคม-มิถุนายน 2562). “การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนวัดวังน้ำวารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.10(1): 460-471.

วันเพ็ญ คุ้มโตและคณะ.(กรกฎาคม-ธันวาคม 2561). “การจัดการกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวิชาการของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9.” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย.10(2): 422-437.

วรรณวิชนี ถนอมชาติและคณะ.(มิถุนายน 2559).“ขีดความสามารถเชิงสมรรถนะเพื่อการสรรหาและคัดเลือก.” RMUTT Global Business and Economics Review.11 (1): 158-169.

วรวรรณ เจติยวรรณ.(ตุลาคม-ธันวาคม 2561). “การจัดการเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์เพื่อพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล.” วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.9(2): 18-33.

ศิริลักษณ์ ทิพม่อม.(กันยายน-ธันวาคม 2559). “การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.” วารสารราชพฤกษ์.14(3): 72-79.

สากล หรหมศิริเดชและคณะ.(September-December 2017). “การบริหารเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1.” JOURNAL OF NAKHON RATCHASIMA COLLEGE. 11(3): 225-234.

สุนทรัสส์ เพชรรักษ์คำด้วงและคณะ.(2559). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(การบริหารการศึกษา). นครศรีธรรมราช: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สุพานี สฤษฎ์วานิช.(2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์:แนวคิดและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์.(2564). การบริหารเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ฮาวทู.

สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.(2553). คู่มือการกําหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะทางการบริหาร. นนทบุรี: สํานักงาน ก.พ.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.(2552).คู่มือการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สํานักงาน ก.พ.ร.

เอมอร จันทร์ขุนทด. (2559). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต(การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อําพล นววงศ์เสถียร.(2562). การจัดการเชิงกลยุทธ์: การแสวงหาความได้เปรียบในการแข่งขันกรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.

Fred R. David. (1997). Strategic Management. 6th ed. New Jersey: Prentice-Hall Inc.Freeman, R. E. (1984). Strategic Management: A Stakeholder Approach. MA: Pitman.

Kotter, J. P. (January 2007). “Leading Change-Why Transformation Efforts Fail.” Harvard Business Review.: 92-107.

Porter, Michael E.(1985) "Competitive Advantage." The Free Press. New York. (1): 11-15. Sasin Executive Education. (2516).ความเป็นเลิศในการบริการ. Retrieved on June 2, 2022 from exceed. sasin. edu/wp-content/uploads/2016/04/SE-TH.pdf.

Strategic Management Insight. (2013). Value Chain Analysis. [Online], Retrieved on June 1, 2022 from http:// www.strategicmanagementinsight.com/tools/value-chain-analysis.html.

Thompson Arthur A., Jr. and Strickland A. J.(2003). Strategic Management.14thed.(NewYork: McGraw-Hill).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-20