การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเอกชน กลุ่มเนินพระ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, การมีส่วนร่วม, โรงเรียนเอกชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเอกชนกลุ่มเนินพระ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเอกชน จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชน กลุ่มเนินพระ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยองจำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67- 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีของ Scheffe’
ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเอกชนกลุ่มเนินพระสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ ดังนี้ ด้านการพัฒนาและการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผล ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเอกชน จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และจำแนกตามขนาดโรงรียนที่ครูสังกัด โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ธร สุนทรายุทธ.(2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป: ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.
ธีรวุฒิเอกะกุล.(2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์.(2553). การบริหารงานวิชาการ.กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
พาขวัญ พันธุ์ทองดี.(2556). การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารวิชาการในโรงเรียนเครือข่ายกรมหลวงชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
มานิตา สุทธิหา.(2556). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และครูในโรงเรียนประถมศึกษา อําเภอบางปะกง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1.งานนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
วีระศักดิ์ วงศ์อินทร์.(2557). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์. ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.
สำนักงานการปฏิรูปการศึกษา.(2545).ปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (พิมพ์ครั้งที่5).กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ:
สุจิตรา สาครรัมย์. (2561). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู ในกลุ่มพระราชวังบางประอิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
สุภาวดี ใจภักดี.(2563). การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1,การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง,หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,วิทยาลัยการจัดการ,มหาวิทยาลัยพะเยา,กรุงเทพฯ.
อรุโณทัย ส่งศรี.(2555).การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการของครู อําเภอบ้านฉาง สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. ม.ป.ท.
Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.
Miller, V. (1965). The public administration of American school system. New York: McMillan.