การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
คำสำคัญ:
หลักพุทธธรรม, การบริหารงานวิชาการ, การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมบริหารงานวิชาการ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ 4 )เพื่อศึกษาค้นคว้าตัวพยากรณ์ที่ใช้ในการพยากรณ์หลักพุทธธรรมกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ จำนวน 373 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (() และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) วิเคราะห์ค้นคว้าตัวพยากรณ์โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ หลักการครองคน (สังคหวัตถุ 4) รองลงมาคือ หลักการครองงาน (อิทธิบาท 4) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ หลักการครองตน (พละ 4) 2) ระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา รองลงมาคือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การพัฒนาส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้และใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 3) ความสัมพันธ์การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ มีความสัมพันธ์ทางบวกทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ตัวพยากรณ์ที่ใช้ในการพยากรณ์หลักพุทธธรรมกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตัวพยากรณ์ดีที่สุดคือการประยุกต์หลักการครองงาน (อิทธิบาท 4)ตัวพยากรณ์ดีรองลงมาคือการประยุกต์หลักการครองตน (พละ4)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การนิเทศการสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.
พระครูโกศลพัฒนาภรณ์. (รัชพล ปภสฺสโร). (2560). การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ. ดุษฎีนิพนธ์รปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูนา จารง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์ เครือข่าย ตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. การค้นคว้าอิสระการศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
วิภา แตงไทย. (2560). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพุทธโฆษาจารย์.(ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 38). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
สุธินี ศรีชน. (2564). การบริหารงานวิชาการเชิงบูรณาการหลักอิทธิบาทของผุ้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2540). หลักสูตรและการจัดการมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.