ผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบออนไลน์บนฐานทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อการพัฒนาการเผชิญปัญหาเชิงรุกในนักศึกษาผู้ช่วยทันตแพทย์

ผู้แต่ง

  • ภัทร์ธิชา ช้างต่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อมราพร สุรการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สิทธิพร ครามานนท์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การเผชิญปัญหาเชิงรุก, นักศึกษาผู้ช่วยทันตแพทย์, การบำบัดความคิดและพฤติกรรม, การปรึกษากลุ่มแบบออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการเผชิญปัญหาเชิงรุกของนักศึกษาผู้ช่วยทันตแพทย์ ระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบออนไลน์บนฐานทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรม 2) เพื่อเปรียบเทียบการเผชิญปัญหาเชิงรุกของนักศึกษาผู้ช่วยทันตแพทย์ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาผู้ช่วยทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 48 คน ใช้การสุ่มอย่างง่ายแบบจับคู่ เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัดการเผชิญปัญหาเชิงรุก, โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบออนไลน์บนฐานทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรม และคู่มือ “ทำความเข้าใจการเผชิญปัญหาเชิงรุก” วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

          ผลการวิจัยพบว่า 1) เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ค่าเฉลี่ยการเผชิญปัญหาเชิงรุกของนักศึกษาผู้ช่วยทันตแพทย์ที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบออนไลน์บนฐานทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรมสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ค่าเฉลี่ยการเผชิญปัญหาเชิงรุกของนักศึกษาผู้ช่วยทันตแพทย์ที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบออนไลน์บนฐานทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรม สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับคู่มือ “ทำความเข้าใจการเผชิญปัญหาเชิงรุก สำหรับนักศึกษาผู้ช่วยทันตแพทย์” อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          

References

กชกร ธรรมนำศีล, สุปราณี น้อยตั้ง, กาญจนา ปัญญาเพ็ชร และ วริศรา โสรัจจ์. (2564) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาล สถาบันเอกชนแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 7(1), 60-75

จุรินทร์ เป็นสุข. (2544).ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีจัดการในเชิงรุกกับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ . มหาวิทยาลัยรามคำแหง,กรุงเทพฯ.

ณัฐธร ทิทยัตน์เสถียร.(2565).BasicsSkills in CBT.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ.

ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. 2558. การให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม.พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 42, 205 -213.

บุญทริกา เอี่ยมคงศรี,ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์,ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา. (2561). การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มการรู้คิด-พฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างการเผชิญปัญหาเชิงรุกของวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม.วารสารพยาบาลตำรวจ, 10(2), 308 – 318.

พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. 2558. การศึกษาและเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาของนิสิต/นักศึกษาโดยการให้ คำปรึกษากลุ่ม. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2), 131 – 146.

ภูริเดช พาหุยุทธ์. 2560. การศึกษาและพัฒนาการเผชิญปัญหาเชิงบวกของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้คำปรึกษากลุ่มเชิงรุก. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนพันธ์ ระหงษ์. 2564. การเสริมสร้างความมุ่งหวังในชีวิตของนักเรียนที่มีผู้อุปการะโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม.วารสารศึกษาศาสตร์ มมร.9(2), 29 – 41.

สุภารัตน์ พัฒนแหวว. 2564. การเสริมสร้างการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม.วารสารศึกษาศาสตร์ มมร.9(2), 42 – 53.

อรพรรณ ตาทา และ ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์. 2555. การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของแบบ วัดกลวิธีการเผชิญความเครียดเชิงรุกฉบับภาษาไทย. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aspinwall, L. G., & Taylor, S. E. (1997). A stitch in time: Self-regulation and proactive coping. Psychological Bulletin, 121, 417-436.

Chester, A., & Glass, C. A. (2006). Online counselling: A descriptive analysis of therapy service on the internet. British Journal of Guidance & Counselling, 34(2), 145-160.

Corey. Gerald. (2016). Theory and practice of Group Counseling (9 th ed.). Canada: Thomsan Brooks/Cole Inc.

Davis, J. Brekke. (2014). Social support and functional outcome in severe mental illness: The mediating role of proactive coping.

Psychiatry Research, 215 (1), 39-45.

Erden, S. (2015). Awareness: The Effect of Group Counseling on Awareness and Acceptance of Self and Others. Social and Behavioral

Sciences 174:1465-1473.

Greenglass, E. R., Schwarzer, R., & Taubert, S. (1999). The Proactive Coping Inventory (PCI): A multidimensional research instrument. [On- line publication. Available at: http://www.psych.yorku.ca/greenglass/].

Greenglass, E. R., &Fiksenbaum, L. (2009). Proactive Coping, Positive Affect, and Well-Being: Testing for Mediation Using Path Analysis.

European Psychologist,14(1),29-39.

Kadek Widya Gunawan. (2020). Effectiveness of Cognitive-Behavioral Group Therapy on Academic Worry Among Undergraduate College Students. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, volume 494.

Lazarus, R., & Folkman, S. (1984). Stress, Appraisal, and Coping. New York: Springer.

Paul Rohde, Jenel S Jorgensen, John R Seeley, David E Mace. (2004). Pilot evaluation of the Coping Course: a cognitive-behavioral

intervention to enhance coping skills in incarcerated youth. Journal of the American Academy of Child & Adolescent Psychiatry, 43(6), 669-676.

Por, J., Barriball, Fitzpatrick, j., &Roberts,J.(2011). Emotional intelligence: its relationship to stress, coping, well-being and professional

performance in nursing students. Nurse Education Today, 31, 855-860.

Prawestri Bayu Utari Krisnamurthi. (2020). The Effectiveness of Online Group Cognitive and Behavioral Therapy on Self-Esteem and

Forgiveness in Young Adult Women after Romantic Relationship Break Up. Advances in Social Science, Education and Humanities

Research, volume 530.

Ruwaard, J., Lange, A., Schrieken, B., &Emmelkamp, P. (2011). Efficacy and effectiveness of online cognitive behavioral treatment: A

decade of Interapy research. In B.K. Wiederhold S. Bouchard & G. Riva (Eds.). Annual review of cybertherapy and telemedicine 2011.

Advanced technologies in behavioral, social and neurosciences(pp. 9-14). Amsterdam: The Interactive Media Institute and IOS

press. doi: 10.3233/978-1-60750-766-6-9.

Trower, P., Jones, J., & Dryden W. (2016). Cognitive Behavioural Counselling in Action.3rd Ed. London: Sage.

Ursula M. S, Claire E. W, Richard A. B., Phyllis. B, Susan S., Pandora P., Antoininette A., Kate T. Richard J. C.(2012). Online group-based

cognitive-behavioural therapy for adolescents and young adults after cancer treatment: A multicenter randomised controlled trial

of Recapture Life-AYA. BMC Cancer., 12, 1-12.

Vaculikova, J., &Soukup, P. (2019). Mediation Pattern of Proactive Coping and Social Support on Well-being and Depression.International Journal of Psychology and Psychological Therapy, 19(1), 39-54.

Wong, K. P., Bonn, G., Tam, C. L., & Wong, C. P. (2018).Preferences for online and/or face-to-face counseling among university students in Malaysia. Frontiers in Psychology, 9, 64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30