ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานเป็นทีม ตามทัศนะของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ ชนะดี มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช
  • สรัญญา แสงอัมพร มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง, การทำงานเป็นทีม

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานเป็นทีมตามทัศนะของ 4) เพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่ใช้ในการพยากรณ์ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานเป็นทีมตามทัศนะของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 2,623 คน ผู้อำนวยการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2  จำนวน 197 คน รวมจำนวน 2,820 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูและผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ปีการศึกษา 2564 โดยมีวิธีการสุ่มตารางกำหนดขนาดของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ประชากรจำนวน 2,820 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Peason’s Product Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า        

1.ระดับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงตามทัศนะของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญารองลงมาคือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการคำนึงถึงการเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการเป็นแบบอย่างที่เหมาะสม

2.ระดับการทำงานเป็นทีมตามทัศนะของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการติดต่อสื่อสาร รองลงมาคือ ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านการร่วมมือ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการประสานงานความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานเป็นทีม

3. ทัศนะของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยในภาพรวมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (RXY=.726) และมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4.ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อพยากรณ์ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานเป็นทีมตามทัศนะของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 พบว่า ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 81.10 โดยผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ที่ดีที่สุดคือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ(β=.680, t=15.02, p-value =.00) ด้านการเป็นแบบอย่างที่เหมาะสม(β=.108, t=2.63, p-value =.00) มีผลต่อการทำงานเป็นทีมอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .01

ดังนั้นจึงนำมาเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังต่อไปนี้

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

Y = .266+.123(X1)+ .013(X2)+ .104(X3)+ .094(X4)+ .647(X5)

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

ZY = .680(Y5)+ .108(Y1)+ .090(Y3)+ .085(Y4)+ .011(Y2)

References

คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.(2548). คู่มือการปฎิบัติงานของอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.ที่ ก.ค.ศ.ตั้งในส่วนราชการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เฉลย ภูมิพันธุ์. (2549). การศึกษาตำแหน่งว่างของข้าราชการครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. วิทยาลัยครูบุรีรัมย์.

ดิเรก วรรณเศียร . (2546). การพัฒนาแบบจําลองแบบสมบูรณ์ในการบริหารโดยใชโรงเรียน เป็นฐาน สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ธนายุ ภู่วิทยาธร. (2561). การทำงานเป็นทีมส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นัฐธิดา วงษ์รอต (2560).การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการทำงานเป็นทีมกับการดำเนินงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นิดา พาภักดี. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี. ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ปัทมวัลย์ บุญถนอม. 2560. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในกลุ่มเครือข่ายสหวิทยาเขต ชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. มหาบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิไลลักษณ์ สีดา. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศรีสุดา กานดา (2560) ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

อริศษรา อุ่มสิน. (2560). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-02