การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

ผู้แต่ง

  • ยุวนาถ คงแหล่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สรัญญา แสงอัมพร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

การประยุกต์, หลักสังคหวัตถุ 4, การบริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารสถานศึกษา ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 458 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดและปลายเปิดซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 

  1. ระดับการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านปิยวาจาอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก รองลงมา ด้านทาน ด้านอัตถจริยา และด้านสมานัตตตา โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ
  2. ผลการเปรียบเทียบ การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ประกอบด้วย ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
  3. ผลการรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 พบว่า ด้านทานข้อเสนอแนะที่มีความถี่มากที่สุด คือ ผู้บริหารควรส่งเสริมบุคลากร โดยจัดให้มีสวัสดิการด้านต่าง ๆ อย่างพึงพอใจ รองลงมา ให้ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้เรียนอยู่เสมอ และจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ด้านปิยวาจาข้อเสนอแนะที่มีความถี่มากที่สุด คือ ควรใช้คำพูดที่ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ให้กำลังใจ ไม่ใช้คำพูดส่อเสียด หรือคำกล่าวที่เพ้อเจ้อ รองลงมา บุคลากรมีการชี้แจงการใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในสถานศึกษาอย่างเหมาะสม และให้คำแนะนำในการใช้งบประมาณแก่บุคลากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้านอัตถจริยาข้อเสนอแนะที่มีความถี่มากที่สุด คือ ควรบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ ตามโอกาสสมควร รองลงมา  มีความโปร่งใส แสดงหลักเกณฑ์วิธีการประเมินผลงานของบุคลากรอย่างชัดเจน และช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน ด้านสมานัตตตาข้อเสนอแนะที่มีความถี่มากที่สุด คือ ควรมีการกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานของสถานศึกษาเพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ รองลงมา การประชาสัมพันธ์ในการศึกษา โดยใช้หลักคุณธรรมในการสร้างความสัมพันธ์อยู่ตลอดเวลา และทำตนเป็นกันเองกับบุคคลอื่นไม่ถือตัวเย่อหยิ่งกับบุคคลอื่น

References

พระครูอาทรปริยัติยานุกิจ สุจิตฺโต (เพียรสองชั้น) (2555). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในอาเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุนทร ธมฺมธโร (บุญคง) (2560). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในชุมชนวัดหนองสนม จังหวัดระยอง. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูประภัศร์ธรรมาภิรักษ์ (2562). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. คณะครุศาสตร์ สาขาวิชา พุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เลิศลัคน์ ภาคาผล (2560). การบริหารงานสถานศึกษาโดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ภาพร ชนะสุข (2564). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระอนุศิษฏ์ สิริปุญฺโญ (ฤทธิ์รุ่ง) (2558). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอฆ้องชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-21