ภาวะผู้นำการเปลี่ยนของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ภัคพิศศา แทนศิลป มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • เกศริน มนูญผล มหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลของสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2.) ระดับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา 3.) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา 4) ค้นหาตัวแปรพยากรณ์ที่ใช้ในการพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา  โดยใช้ข้อมูลจากครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราชในปีการศึกษา 2565  จำนวน 339 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ค้นคว้าตัวพยากรณ์โดยวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย

ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ส่วนด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ระดับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการบริหารงานวิชาการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ส่วนด้านการบริหารงานบุคคล มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับแบบสำรวจประสิทธิผลของการบริหาร พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในทุกด้านและการเปลี่ยนแปลงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และด้านที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสูงสุด ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์  4) ผลการวิเคราะห์ตัวแปรพยากรณ์ที่ใช้ในการพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาพบว่า สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบคือ Y = .597 + 874X  และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานคือ Zy =  .82Zx

References

กังวาน สร้อยทอง (2565). รูปแบบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. อัธยาศัย. สืบค้นเมื่อ 13สิงหาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://so05.tci-thaijo.org/

ขจรอรรถพณ พงศ์วิริทธิ์ธร (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ: เชียงราย, 12. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://so04.tci-thaijo.org/

จิตราวดี วังกานนท์ (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 .สืบค้นเมื่อ 13สิงหาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://so04.tci-thaijo.org/

สุวิตรา บุญแจ้ง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://jeal.snru.ac.th/

Krejcie,R.V. & Morgan,D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30