การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it center) สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ประเวท จันทร์งาม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สรัญญา แสงอัมพร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การบริหารงานวิชาการ, ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การบริหารงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนกับประสิทธิภาพการบริหารงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน และ 4) เพื่อศึกษาการบริหารงานศูนย์ซ่อมสร้าง
เพื่อชุมชนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ประกอบด้วย ผู้บริหาร และครู สถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 260 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า:

  1. การบริหารงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
  2. ประสิทธิภาพการบริหารงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา
    เป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
  3. ความสัมพันธ์การบริหารงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนกับประสิทธิภาพการบริหารงานศูนย์ซ่อมสร้าง
    เพื่อชุมชน มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อยู่ในระดับมาก (r=.792) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  4. การบริหารงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน คือ กิจกรรมพัฒนา (Top Up) กิจกรรมซ่อม (Repair) และกิจกรรมสร้าง (Build) ร่วมกันพยากรณ์ ได้ร้อยละ 66.0
    ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

References

แคชรียา ศรีวงษา. (2562). การประเมินโครงการพัฒนารูปแบบและยกระดับคุณภาพศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (FIX IT CENTER THAILAND 4.0) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

จริยา สุทธิเดช. (2557). แนวทางจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา,กระทรวงศึกษาธิการ.

ชัยยันต์ ขวัญเกื้อ. (2564). แนวทางการบริหารศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัย ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ช่อชนก อาจศรัตรู. (2561). การบริหารโรงเรียนโดยใชหลักการบริหารแบบมุjงผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สถิตย์ ปริปุณณากร. (2561). การประเมินโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) วิทยาลัยเทคนิคพะเยาได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model). สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). คูมือมาตรฐานการปฏิบัติงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). คู่มือศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน, (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1).

สุภารัตน์ บาลนาคม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อัครวัฒน์ นิธิจิรวงศ์. (2559). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจตามแผนปฏิบัติงานฝ่ายเทศกิจ กรุงเทพมหานคร. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการ สาธารณะ), สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะสำหรับนักบริหาร, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Koontz Harold D. and Cyril O’Donnell. (1972). Principles of Management : An Analysis of ManagerialFunctions. New York : MC Graw – Hill.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25