ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
คำสำคัญ:
พฤติกรรมผู้นำ, พฤติกรรมผู้นำแบบมีส่วนร่วม, การบริหารงานวิชาการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำแบบส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 306 คน ได้มาโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และเมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับพฤติกรรมผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือพฤติกรรมผู้นำแบบร่วมติดตามและประเมินผล รองลงมา คือ ด้านพฤติกรรมผู้นำแบบร่วมคิด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านพฤติกรรมผู้นำแบบร่วมตัดสินใจ 2) ผลการศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา 3) พฤติกรรมผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ใน ทางบวกกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 โดยพฤติกรรมผู้นำแบบร่วมดำเนินการมีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการสูงสุด รองลงมา คือพฤติกรรมผู้นำแบบร่วมตัดสินใจ พฤติกรรมผู้นำแบบร่วมคิด พฤติกรรมผู้นำแบบร่วมติดตามและประเมินผล ตามลำดับ
References
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ:
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2560). พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
เมตต์ เมตต์การุณจิต. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนา : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติเชิงรุก. นนทบุรี : บุ๊คพ้อยวิชาการ.
โรงเรียนบ้านหนองบัวรอง (อินทรผลบำรุง). (2563). คู่มือการปฏิบัติงานวิชาการ. ชัยภูมิ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3..
สาคร สุขศรีวงศ์. (2562). การจัดการ : จากมุมมองนักบริหาร(พิมพ์ครั้งที่ 13).กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). ภาวะผู้นำในองค์การสถานศึกษา (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2561). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรเทพ รู้แผน. (2561), การบริหารสถานศึกษาและพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น 2562), พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง
ทับทิม แสงอินทร์. (2559). "การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี”. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร
ธนพล สะพังเงิน. (2564). “ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
กนกวรรณ สุ่มพวง. (2560). “การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบร่วมแรงร่วมใจของผู้บริหารสถานศึกษากับ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารงานวิชาการของ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1”. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา.
ศุภลักษณ์ ลีฬหคุณากร. (2560). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระบี่”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561).“แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท”. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์,
สุชาดา อักษรกริช. (2563). “ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 จังหวัดอ่างทอง”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา