เทคโนโลยีสร้างสรรค์: ตัวอย่างการนำไปใช้ในสถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • พรทิวา ชนะโยธา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • เนติ เฉลยวาเรศ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • พระมหาเกรียงไกร สิริวฑฺฒโน (เพ็ชสังคาด) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • วสันต์ เกษงาม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • สุดารัตน์ มณีนิล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสร้างสรรค์, ตัวอย่างการนำไปใช้, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในองค์กรมากยิ่งขึ้น หลังการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส 2019 ส่งผลให้สังคมก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เรียกว่ายุคดีสรัปชัน ทำให้ระบบการทำงานของมนุษย์เกิดการปรับเปลี่ยนในทุกสายอาชีพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลพร้อมรับกับวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงานในรูปแบบใหม่ ไม่เว้นแม้แต่งานทางด้านการศึกษาที่นำเทคโนโลยีสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการนำความสามารถของเทคโนโลยีที่มีอยู่มาปรับและประยุกต์ใช้ในงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นวัตกรรมใหม่ เปลี่ยนรูปแบบงานแบบเดิมที่ใช้การเก็บข้อมูลหรือบันทึกข้อมูลด้วยเอกสารปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานที่อาศัยความสามารถของอินเทอร์เน็ต โปรแกรม หรือแอปพลิเคชัน และแนวคิด การลงมือปฏิบัติซึ่งเกิดขึ้นในสถานศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนตลอดจนผู้ปกครอง ในบทความนี้นำเสนอตัวอย่างแอปพลิเคชันที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานทางด้านบริหารการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป 3 อย่าง ซึ่งประกอบด้วย แอปชีท (App Sheet)  โพสต์แมน (Postman) และ ลูกเกอร์ สตูดิโอ (Looker Studio) 

References

ประยุทธ์ ไทรย้อยสกุลเลิศ. (2565). ตัวอย่างภาพเว็บแอปพลิเคชันที่พัฒนาด้วย Google Apps Script ร่วมกับการแจ้ เตือนผ่าน line official account. เข้าถึง จาก เว็บเพจครูอั๋นใจดี https://www.facebook.com/Kruaunjaidee.

สถาบันดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย .(2559). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน เข้าถึงจากhttp://www.stabundamrong.go.th/web/download/newkm/thailand4.0.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2565) Digital Disruption และมาตรการรับมือด้าน HR ของภาครัฐ เข้าถึง จากhttps://www.ocsc.go.th/sites/default/files/digital_disruption-article-ocsc-feb2020.pdf.

สุมนฒ์ จิรพัฒนพร. (2565). ตัวอย่างภาพการประมวลผลข้อมูลโดยใช้ Google Data Studio เว็บโครงการ ยกระดับความสามารถทางด้านดิจิทัล มรภ.นครสวรรค์ เข้าถึงจาก https://sites.google.com/nsru.ac.th/ nsrudigital/%E0%B8%AB%E0% B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8% A3%E0%B8%81

อภิวัฒน์ วงศ์กัณหา. (2565). การใช้ Postman สร้างหน้า Rich Menu ใน line. เข้าถึงจากเพจ ครูอภิวัฒน์ สอนสร้างสื่อ https://www.facebook.com/groups/apiwats

Angelika Mader and Wouter Eggink .(2014). A Design Process for Creative Technology. International Conference on Engineering and Product Design Education 4&5 September 2014, University of Twente, The Netherlands.

Connor, A.M. (2016). A historical review of creative technologies. In A.M. Connor & S. Marks (Eds.) Creative Technologies for

Multidisciplinary Applications. Hershey: IGI Global.

de Haan, G. (2014, September). Co-designing a Vision for Educating Human-Centered Creative Technology. the 2014 European

Conference on Cognitive Ergonomics (pp. 1-4).

Earl P. Stevenson. (1953). The Scientific Monthly Vol. 76, No. 4 (Apr., 1953), pp. 203-206 (4 pages) Published by: American Association for the Advancement of Science.

Jones,J ,C .(1970). Design methods. Wiley-Interscience, London, 1970.

Mader, A. and Dertien, E (2014). How to Educate for Creativity in Creative Technology?. International Conference on Engineering and Product Design Education (pp. 1-4). International Conference on Engineering and Product Design Education 4&5 September 2014, University of Twente, The Netherlands.

Salovaara, A. (2012). Repurposive appropriation and creative technology use in human– computer interaction. Helsinki Institute for Information Technology HIIT Aalto University and University of Helsinki, Finland.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30