การใช้หลักอริยสัจ 4 เพื่อจัดการความเครียดของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

ผู้แต่ง

  • นุชนาถ ปลอดใจดี -
  • ทิพมาศ เศวตวรโชติ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

หลักอริยสัจ 4, ครูและผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักอริยสัจ 4 เพื่อจัดการความเครียดของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักอริยสัจ 4 เพื่อจัดการความเครียดของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 เมื่อจำแนกตามตัวแปร เพศ ตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา                             และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการใช้หลักอริยสัจ 4 เพื่อจัดการความเครียดของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดและปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (() และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติการทดสอบทีเทส (t-test) และ เอฟเทส (F-test) ในกรณีพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจะทำการทดสอบเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheff’s Method)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการวิเคราะห์การใช้หลักอริยสัจ 4 เพื่อจัดการความเครียดของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่า การใช้หลักอริยสัจ 4 เพื่อจัดการความเครียดของครูและผู้บริหารสถานศึกษา ด้านมรรค มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา การใช้หลักอริยสัจ 4 เพื่อจัดการความเครียดของครูและผู้บริหารสถานศึกษา ด้านนิโรธ และการใช้หลักอริยสัจ 4 เพื่อจัดการความเครียดของครูและผู้บริหารสถานศึกษา ด้านทุกข์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 
  2. ผลการวิเคราะห์ผลการเปรียบเทียบการใช้หลักอริยสัจ 4 เพื่อจัดการความเครียดของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำแนกตามตัวแปรเพศ ไม่แตกต่างกัน ตำแหน่งหน้าที่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน และประสบการณ์การทำงานมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. ผลการรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักอริยสัจ 4 เพื่อจัดการความเครียดของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 พบว่า การกิจกรรมทำเพื่อลดความเครียด เช่น การนั่งสมาธิ การออกกำลังกาย การฟังเพลง ดูหนัง มีความถี่สูงที่สุด รองลงมา การทำใจให้สบาย มองในมุมบวก และการตั้งสติทุกครั้งที่เผชิญกับปัญหาที่จะก่อให้เกิดความเครียด มีค่าความถี่น้อยที่สุด

References

เครือมาศ.ชาวไร่เงินและคณะ. (2564). การพัฒนาคู่มือการจัดการความเครียดของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2, 5

จุฑามาศ เหลืองธานี และคณะ (2561). แนวทางการลดความเครียดของครูและบุคลากรทางการศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นาตยา.สุวรรณจันทร์และคณะ. (2560). การศึกษาความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11

พระครูสารกิจประยุต. (2560). การประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 ในการแก้ไขปัญหาชีวิต. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, ปีที่ 17 ฉบับที่ 2.

ไพศาล วรคำ. (2558). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

สุรเชษฐ สุวรรณมาลี (2564). ปัจจัยความเครียดที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อรรถกฤช ผ่องคณะ (2560). แนวทางการแกไขปัญหาความเครียดของครูในโรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์. วิทยานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.กลุ่มวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์.วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25