ประสิทธิผลของสถานศึกษาโดยการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ ปรีชา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สรัญญา แสงอัมพร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลของสถานศึกษา, หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาโดยการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของสถานศึกษากับการใช้หลักธรรมาภิบาล และเพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่ใช้ในการพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษากับการใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1.ประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2.การใช้หลักธรรมาภิบาลของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3.ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของสถานศึกษากับการใช้หลักธรรมาภิบาลของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช พบว่าโดยรวมมีความสัมพันธ์กันสูง(RXY).726  และมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4.ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษาสามารถพยากรณ์การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลของสถานศึกษา ได้โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 61.10 สมการถดถอยพหุคูณในรูปแบบคะแนนดิบ

Y = 1.858+.358(X1)+ .136(X2)+ .104(X3)+ .355(X4)+ .033(X5)+ .130(X6)

สมการถดถอยพหุคูณในรูปแบบในรูปคะแนนมาตรฐาน

ZY = .513(Y1)+ .503(Y4)+ .204(Y2)+ .185(Y6)+ .161(Y3)+ .044(Y5)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ฉัตรมงคล สูงเนิน. (2561). แนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เชาวนุช สวางชาติ. (2561). ปัจจัยภาวะผู้นําแบบเหนือชั้นของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาลในเขตจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ประสิทธิภาพการนําธรรมาภิบาลมาใชในการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียน.วารสารศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน.

ปราโมทย ประสานกุล. (2555). การเปลี่ยนแปลงประชากรกับการศึกษา ใน เอกสารประกอบการประชุมระดมความคิดเรื่องภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10 - 20 ป. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

พระพิชาญ สุมงฺคโล (ภูประทาน) (2563). แนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในจังหวัดกาฬสินธ์. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

วลินเนศวร์ ธีรการุณวงค์ (2562). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของเทศบาลตำบล ในจังหวัดนนทบุรี. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

วิษณุ เครืองาม. (2555). การสงเสริมหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบานเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-21