การเสริมสร้างเจตคติต่ออาชีพอุตสาหกรรม โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยชุดกิจกรรมแนะแนว

ผู้แต่ง

  • ชัชรีย์ คชรินทร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สกล วรเจริญศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มณฑิรา จารุเพ็ง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

เจตคติต่ออาชีพอุตสาหกรรมโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, ชุดกิจกรรมแนะแนว, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาเจตคติต่ออาชีพอุตสาหกรรมโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่ออาชีพอุตสาหกรรมโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตพื้นที่อุตสาหกรรม จำนวน 319 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การเสริมสร้างเจตคติโดยชุดกิจกรรมแนะแนว เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 20 คน ด้วยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 25 ลงมาและสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดเจตคติต่ออาชีพอุตสาหกรรมโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และชุดกิจกรรมแนะแนว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีค่าเฉลี่ยเจตคติต่ออาชีพอุตสาหกรรมโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรู้สึกเห็นความสำคัญ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านแนวโน้มในเชิงพฤติกรรมหรือการกระทำ และด้านความรู้ความเข้าใจ ตามลำดับ และ 2) หลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีเจตคติต่ออาชีพอุตสาหกรรมโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กัญจน์ภัส เกตโรจน์. (2559). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในวุฒิภาวะด้านอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชูศรี วงศ์รัตนะและองอาจ นัยพัฒน์. (2551). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์: แนวคิดพื้นฐานและวิธีการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวรัตน์ ปลื้มสติ. (2544). ผลการแนะแนวอาชีพที่มีต่อเจตคติต่ออาชีพอิสระของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ กรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2554). การแนะแนวเบื้องต้น. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ลออ สมใจ. (2556). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตเทศบาลสมุทรปราการ. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลักขณา สริวัฒน์. (2551) การแนะแนวเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ลัดดาวรรณ ณ ระนอง. (2557). กิจกรรมและเครื่องมือแนะแนว: เอกสารการสอนชุดวิชากิจกรรมและเครื่องมือการแนะแนว หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สกล วรเจริญศรี. (2558). การแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณค่าแห่งตน จากแนวคิด ทฤษฎีสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

สกล วรเจริญศรี. (2559). จิตวิทยาสำหรับการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

สุพัตรา ถนอมรัตน์. (2554). ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). (2562). ความเป็นมาของอีอีซี. สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th/th/government-initiative/why-eec

อรอนงค์ ธัญญะวัน. (2539). การแนะแนวอาชีพ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อชิรญา จตุรภัทรไพบูลย์. (2563). การเสริมสร้างเป้าหมายทางการศึกษาของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Zunker, G.V. (1997). Career Counselign: Applied Concepts of Life Planning. New York: Brook/Cole Publishing Company.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25