การศึกษาความหมายของคำว่า “รอบ” ในภาษาไทยปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • วิมลวรรณ ขอบเขต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • กัลยรัตน์ กลิ่นสุวรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ความหมายของคำ, ความสัมพันธ์ระหว่างความหมาย, , อรรถศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำ “รอบ” ในภาษาไทยปัจจุบัน โดยเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูล TNC: THAI NATIONAL CORPUS (Third Edition) ช่วง พ.ศ. 2551 – 2560 มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อวิเคราะห์ความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างความหมายต่าง ๆ ของคำ “รอบ” ในภาษาไทย ผลการศึกษาพบว่า คำ “รอบ” มี 8 ความหมาย ได้แก่ 1) การเวียนมาบรรจบ 2) การเวียนมาบรรจบตามกำหนดเวลา 3) ช่วงเวลา 4) ระยะเวลา 12 ปี 5) วาระของกิจกรรม 6) สิ่งที่อยู่แวดล้อม 7) ทั้งหมด และ 8) ลักษณนามแสดงการเกิดหรือการกระทำบางอย่างในลักษณะซ้ำเดิม นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่าความหมายต่าง ๆ นั้นมีความสัมพันธ์กัน โดยมีการขยายความหมายผ่านกระบวนสำคัญ 3 กระบวนการ ได้แก่ 1) กระบวนการอุปลักษณ์ 2) กระบวนการนามนัย และ 3) กระบวนการอุปลักษณ์-นามนัย

References

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รุ่งทิพย์ รัตนภานุศร. (2549). การขยายความหมายของคำกริยาแสดงการรับรู้ด้วยตาในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิรีมาศ มาศพงศ์. (2557). ภาพ รส กลิ่น เสียง: การศึกษาเชิงประวัติของคาบอกผัสสะ. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 31(1), 146-173.

โสมรวี สมเพชร. (2563). การขยายความหมายของคำว่า “กัด” ในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์

ปริชาน. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 37 ฉบับที่ 2 (2020): กรกฎาคม – ธันวาคม 2563, 1-36.

Evans, V., & Green, M. (2006). Cognitive Linguistics: An Introduction. Edinburgh: Edinburgh University Press.

Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphors we live by. Chicago; London: The University of Chicago Press.

Ungerer, F., & Schmid, H.-J. (1996). An introduction to cognitive linguistics. New York: Longman.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31