การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • หนึ่งฤทัย แก้วกิ่ง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • พระครูธรรมาภิสมัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ เพศ อายุ ประสบการณ์ทำงาน และระดับการศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา  จำนวน 117 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการศึกษาพบว่า

1. การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการคิด วิจารณญาณและการแก้ไขปัญหา ด้านสารสนเทศ สื่อสาร และเทคโนโลยี ICT   ด้านริเริ่ม นวัตกรรม และสร้างสรรค์ ด้านการสื่อสาร และการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ผลการเปรียบเทียบ การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น เพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และระดับการศึกษา พบว่า ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์ทำงาน แตกต่างกัน มีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนระดับการศึกษา พบว่า ไม่แตกต่างกัน

References

Aimsuwan, C. (2017). National education plan A.D. 2017-2036 and educational revolution. Thailand Education Journal, 14(138), 5.

Chumjit, Y. (2007). Self-actualization for teacher (4th ed.). Bangkok: Odianstore.

Chineze, M. & Leesi, E. (2016). Teachers’ level of awareness of 21st century occupationalroles in Rivers State secondary schools. Journal of Education.

ชุติมา ไชยเสน. (2563). การศึกษาทักษะพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ประจำปีการศึกษา 2562. รายงานวิจัยสถาบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สุทัศน์ สังคะพันธ์.(2557). ทำไมต้องทักษะในศตวรรษที่ 21 ในบทความทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. ในดุษฎีนิพนธ์ปริชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน.มหาวอทยาลัยมหาสารคาม.

สุริยาพร นพกรเศรษฐกุล. (2561). ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตที่ 18.วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

ณัฏฐินี ศรสุวรรณ. (2558). ลักษณะของห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 . สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2565 จาก http://surl.li/ddljl

พงษ์ลิขิต เพชรผล.(2559). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพชรา บุดสีทา.(2560). แนวทางการจัดการเรียรู้ในศตวรรษที่ 21.สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2564 จาก https://zhort.link/HBN

วศิน ชูชาติ.(2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 จังหวัดสุพรรณบุรี.วิทยนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิตศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชุติมา ไชยเสน. (2563). การศึกษาทักษะพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ประจำปีการศึกษา 2562. รายงานวิจัยสถาบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ฉัตรชัย หวังมีจงมี. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21: ปรับการเรียนเปลี่ยนสมรรถนะ.วารสารสถาบันเสริมและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2560.

พงษ์เอก สุขใส. (2561).ครูพลในศตวรรษที่ 21.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น,12, 8-21

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579.(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทฑ ฯ. บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

เหงียน ถิ ทู ฮ่า.(2561). การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดกาวบั่ง ประเทศเวียดนาม. วิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษย์ศสาตร์และสังคมศาสตร์,6(2), 14-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30