ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3

ผู้แต่ง

  • อรวดี ศรีชาย มหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, การประกันคุณภาพภายใน

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 4) เพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่ใช้ในการพยากรณ์ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ประชากร ได้แก่ ครูและบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 จำนวน 1,971 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตาราง Krejcic and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Peason’s Product Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า        

1.ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3  มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน รองลงมาคือ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการนิเทศการศึกษา

2.ระดับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านมาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ รองลงมาคือ ด้านมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ  ด้านมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

3.ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 พบว่าโดยรวมมีความสัมพันธ์กันสูง (RXY).862 และมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4.ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อพยากรณ์ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา กับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 พบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ทุกด้าน สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้ร้อยละ 77.40 โดยผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ที่ดีที่สุดคือ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้(β=.192, t=4.16, p-value =.00) ด้านการวัดและประเมินผล(β=.298, t=4.63, p-value =.00) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา(β=.281, t=4.73, p-value =.00) และด้านการบริหารจัดการหลักสูตร (β=.119, t=2.40, p-value =.01)มีผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01นำมาเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังต่อไปนี้

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

Y = .323+.006(X1)+ 003(X2)+ 116(X3)+ 160(X4)+ 178(X5)+ 289(X6)+261(X7)

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

ZY =.298(Y6) + .281(Y7) +.192(Y4)+.119(Y3) )+ .085(Y5)+ .006(Y1)+ .003(Y2)

 

References

เกตุสุดา กิ้งการจร (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริการการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชัยมงคล บุญชัย (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารรัชภาคย์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 38 มกราคม – กุมภาพันธ์ 2564 - TCI กลุ่มที่ 2 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปี 2563-2567.

ปิยพร บุญใบ. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รสา สำเภาเงิน (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการ ดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

วิเชียร ทองคลี่. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2560). ปฏิรูปการเรียนรู้สำคัญที่สุด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2552). รายงานประจำปี. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

เอกวัฒน์ บุญใบ. (2561). การศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของ กศน.อำเภอ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ. อุบลราชธานี: สถาบัน กศน.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31 — Updated on 2025-02-06

Versions

How to Cite

ศรีชาย อ. (2025). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3. ศึกษาศาสตร์ มมร, 12(2), 40–53. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/263519 (Original work published 31 ธันวาคม 2024)