การพัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์คำตอบปรนัยอย่างง่ายในการสอบออนไลน์
คำสำคัญ:
โปรแกรม, คำตอบปรนัย, การสอบออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยจากการพัฒนางานประจำ (R2R: Routine to Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์คำตอบปรนัยอย่างง่ายในการสอบออนไลน์ 2) เปรียบเทียบความแตกต่างผลที่ได้จากโปรแกรมวิเคราะห์คำตอบปรนัยอย่างง่ายในการสอบออนไลน์ กับ เครื่องตรวจกระดาษคำตอบ และโปรแกรม SPSS ผู้วิจัยดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยดังนี้ กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) คือ กระดาษคำตอบ จำนวน 162 ชุด ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยแต่ละชุด มีจำนวน 60 ข้อ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) โปรแกรมวิเคราะห์คำตอบปรนัยอย่างง่ายในการสอบออนไลน์ และ 2) แบบประเมินการพัฒนาระบบวิเคราะห์คำตอบปรนัยอย่างง่ายในการสอบออนไลน์ เพื่อหาความเหมาะสมของโปรแกรม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test (Paired sample test) และการทดสอบสหสัมพันธ์ภายในชั้น (intra-class correlation: ICC)
ผลการวิจัยพบว่า
1) โปรแกรมวิเคราะห์คำตอบปรนัยอย่างง่ายในการสอบออนไลน์ มีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.54 S.D. = 0.03)
2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ จาก โปรแกรมวิเคราะห์คำตอบปรนัยอย่างง่ายในการสอบออนไลน์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กับ เครื่องตรวจกระดาษคำตอบ และโปรแกรม SPSS มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนา มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับดีมาก (ICC ≥ 0.90)
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php
ชูใจ คูหารัตนไชย. (2562). การเปรียบเทียบโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลการถดถอยเชิงเส้น.วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 28(2), 1-9.
ปริยานุช ประเสริฐสิริกุล. (2563). การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับนิสิต เพื่อวางแผนการเรียนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป. Mahidol R2R e-Journal, 7(2), 102-114 .
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7) . กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.
พิสณุ ฟองศรี. (2557). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4) . กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
วุฒิพงษ์ ชินศรี และศิริวรรณ วาสุกรี. (2558). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการวิเคราะห์ข้อสอบปรนัย.
วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(1), 1-17.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (Classical test theory) (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร ตั้งวิบูลย์พาณิชย์. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อประมวลผลแบบสอบถาม โดยใช้ภาษา VBA ในโปรแกรมสำเร็จรูปไมโครซอฟต์เอ็กเซล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 16(2), 59-70.
สาธร เบญจชาด และสุภาดา ศรีสารคาม. (2558). การพัฒนาโปรแกรมด้านการประมวลผลแบบสเปรดชีทในการสร้าง S-CURVE (S-Curve CREATER) เพื่อตรวจสอบผลงานก่อสร้างสำหรับผู้ควบคุมงาน. Mahidol R2R e-Journal, 2(2), 36-49 https://he01.tcihaijo.org/index.php/mur2r/article/view/243053/165120
Koo T. K. & Li M. Y, (2016). A Guideline of Selecting and Reporting Intraclass Correlation Coefficients for Reliability Research. Journal of Chiropractic Medicine, 15(2), 155–163.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. NewYork : Wiley & Son.