ทศชาดกแผนที่แห่งความสำเร็จในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามทรรศนะของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต2
คำสำคัญ:
ทศชาดกบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานตามหลักทศชาดกของผู้บริหารสถานศึกษาตามทรรศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2) เพื่อศึกษาความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา 4 ด้าน ตามทรรศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักทศชาดกกับความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา 4 ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งหมด 2,620 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 2 จำนวน 345 คน ซึ่งจำนวนของกลุ่มตัวอย่างเทียบตามสัดส่วนจากตารางสำเร็จรูปของทาโร่ยามาเน่ (Taro Yamane) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการวิเคราะห์ระดับการใช้ทศชาดกในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า มีการบริหารงานตามหลักทศชาดก อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านขันติบารมี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ สัจจะ ส่วน ด้านอธิษฐานบารมี มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
- ผลการวิเคราะห์ความสำเร็จในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า มีระดับประสิทธิผลของการบริหารงาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า การบริหารงานวิชาการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การบริหารงานทั่วไป ส่วน การบริหารงานงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
- ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักทศชาดกในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยภาพรวม (X) กับประสิทธิผลการบริหารงาน โดยภาพรวม (Y) พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การใช้หลักทศชาดกในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ในทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานด้านการบริหารงานบุคคล (r = .153) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เพียงด้านเดียว ส่วนอีก 3 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ และ ด้านการบริหารงานทั่วไป พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน
References
เจษฎา ธนปาโล. (2560). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง ทศชาติชาดก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. (ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
ชวัลวิทย์ อรุณปราการ นวลวรรณ พูลวสุพลฉัตร และสรวิชญ์ วงษ์สอาด. (2564). การใช้บารมี 10 ในการพัฒนาตนเองและสังคม. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 49-56.
ณรงค์ศักดิ์ กำเนิดทอง. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 43-52.
ณัฐภัทร พัฒนา ปวลี บุญปก และคณะ. (2565). โครงสร้างภาษาไทยที่ใช้ในการแปลกริยาวลี Participle ที่ปรากฏในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28-52.
ไทยรัฐ. (2564). ศีล 5 ข้อ หลักคุณธรรมพื้นฐานของชาวพุทธ มีอะไรบ้าง? เข้าถึงได้จาก ไทยรัฐออนไลน์: https://bit.ly/3CPu8Xv
ธนกฤต มีพวงผล. (2557). ศึกษาการบำเพ็ญอธิษฐานบารมีของพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 105-115.
ธนาศักดิ์ สุตธโน. (2563). ศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏในทศชาติชาดก. วารสารวิชาการ มมร วิทยาเขตล้านนา, 115-134.
นิพาน สารคาญ. (2553). วิเคราะห์ภูมิปัญญาของพระโพธิสัตว์ในทศชาติชาดก. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
ปลัดสมชาย ปโยโค พิพิธ ปริยัติกิจ และเมธี ปริยัติวิบูล. (2559). การศึกษาวิเคราะห์อุเบกขาบารมีในนารทชาดก. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10-26.
พิมพฤทธิ์ เที่ยงภักดิ์. (2565). รูปแบบการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครเขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย, 226-236.
พีรบูลย์ บุญธรรม. (2559). แนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองโลกของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งบริเวณในเขตเมืองและชายขอบ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 234-248.
รัฐพงค์ ทองแปง ทรงศักดิ์ พรมดี และสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม. (2564). ศึกษาวิเคราะห์การบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรในเวสสันดรชาดก. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 176-187.
วราภรณ์ พุทธวงษ์ วรรณารัตน์ อัศวเดชาชาญยุทธ์ และคณะ. (2560). แนวคิดการบริหารสถานศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 16-23.
ศิริรัตน์ ทับเจริญ. (2554). การนำเสนอแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราภัฏภาคเหนือ, 49-58.
สมชาย ชินทตฺโต. (2564). การศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฏในสุวรรณสามชาดก. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 49-57.
สมศักดิ์ แย้มจันทึก ทวี เลียวประโคน และสำราญ โคตรสมบัติ. (2562). ศึกษาวิเคราะห์ขันติธรรมที่ปรากฏในจันทชาดก. วารสารนิสิตวัง, 28-34.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2556). ทศชาติ. เข้าถึงได้จาก คลังความรู้: https://bit.ly/3CG8cOi
สุทธินันท์ ศรีอ่อน. (2562). แนวคิดและการปฏิบัติตนในวัยเด็กของพระโพธิสัตว์ ในอรรถกถามหานิบาตชาดก. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 92-113.
อธิการสุรพล ฐานจาโร. (2557). การศึกษาวิเคราะห์ขันติบารมีของพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนา. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 133-141.
อาริษา วัฒนครใหญ่. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 33-42.