การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย : การวิเคราะห์อภิมาน

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงษ์ ชุ่มวงศ์ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
  • รุ่งทิวา กองสอน วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์อภิมาน, การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย, การสังเคราะห์งานวิจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่ทำการศึกษาประสิทธิภาพการสอนของในด้านการตีพิมพ์และผู้วิจัย ด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัย และด้านระเบียบวิธีวิจัย และ 2) เพื่อวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลของงานวิจัยทางการศึกษาที่ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยที่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่เผยแพร่ในระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2562 จำนวน 7 เล่ม ที่มีคุณลักษณะตามเกณฑ์การคัดเลือก คือ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม เป็นงานวิจัยเชิงทดลองและมีคะแนนคุณภาพงานวิจัย 3.00 ขึ้นไป  ซึ่งรวมรวบข้อมูลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นโดย นงลักษณ์  วิรัชชัย (2530) บันทึกแบบสรุปรายงานการวิจัย แล้วนำมาสังเคราะห์ตามวิธีของ Glass ได้ค่าขนาดอิทธิพล จำนวน 8 ค่า จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะงานวิจัยที่ทำการศึกษาประสิทธิภาพการสอนที่นำมาสังเคราะห์ แบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ ด้านคุณลักษณะงานวิจัยด้านการตีพิมพ์ และผู้วิจัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2552-2562 สถาบันที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คิดเป็นร้อยละ 71.43  สาขาวิชาที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด คือ หลักสูตรและการสอน คิดเป็นร้อยละ 85.71 และประเภทงานวิจัยที่ผลิตมากที่สุด คือ วิทยานิพนธ์ระดับระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 85.71 ด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัย พบว่าวิชาที่ทำวิจัยมากที่สุด คือ วิชาคณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 42.86 ระดับชั้นของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุด คือ ระดับช่วงชั้นที่ 2 ช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 28.57 และประเด็นที่งานวิจัยศึกษามากที่สุด คือ รูปแบบการจัดการเรียนการสอน คิดเป็นร้อยละ 100.00 และด้านระเบียบวิธีวิจัย พบว่า รูปแบบงานวิจัยที่ใช้มากที่สุด คือ การวิจัยเชิงทดลอง คิดเป็นร้อยละ 100.00  การกำหนดตัวอย่างที่ใช้มากที่สุด คือ การกำหนดตัวอย่างโดยมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 85.72 โดยใช้วิธีการสุ่มที่ใช้มากที่สุด คือ การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) คิดเป็นร้อยละ 71.43 และการตั้งสมมติฐานที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุด คือ การกำหนดสมมติฐานแบบมีทิศทาง คิดเป็นร้อยละ 85.71  2) การศึกษาที่ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย : Deductive Methods มีอิทธิพลต่อผลการเรียนรู้ของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.294 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.274

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เยาวพา สาครเจริญ. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยกับการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พลวิสันติ์ สิงหาอาจ. (2557). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิจารณญาณ และการแก้ปัญหาระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบ KWDL วิธีสอนแบบนิรนัยและวิธีสอนตามรูปแบบของ สสวท. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วศิน เกิดดี. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัสกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยกับการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

วิภาดา พินลา,วิภาพรรณ พินลา. (2558). การศึกษาผลการเรียนรู้วิชาสัมมนาสังคมศึกษาและความสามารถในการ วิเคราะห์สำหรับนิสิตปริญญาตรีที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยกับการจัดเรียนรู้แบบนิรนัย. การวิจัยทุนอุดหนุนการวิจัยรายได้ประจำปีงบประมาณพศ 2558 มหาวิทยาลัยทักษิณ สาขาการสอนศิลปะศาสตร์(การสอนสังคมศึกษาคณะศึกษาศาสตร์)

รุ่งนภา ไร่กระโทก. (2556). การเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางการเรียนด้านการแต่งบทร้อยกรองและเจตคติ ต่อการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมแบบอุปนัยกับแบบนิรนัย. วิทยานิพนธ์ สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กัลสร ผดุงวงษ์จันทร์. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิเคราะห์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เรื่อง สำนวนไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยและแบบนิรนัย. วิทยานิพนธ์ สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กชพรรณ สีทอง. (2554). การเปรียบเทียบวิธีการสอนแบบนิรนัยและอุปนัยเรื่อง Present Perfect และ Past Simple Tense ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ สาขาหลักสูตรและการสอน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศศ.ม. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยนเรศวร

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2530). การสังเคราะห์งานวิจัย. วารสารสารานุกรม ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม – พฤศจิกายน).

ชาตรี เกิดธรรม. (2547). เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เขียนเป็นสำคัญ.พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนพานิช

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2547). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนากระบวนการคิด.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

นงลักษณ์ วิรัชชัยและสุวิมล ว่องวานิช. (2542). รายงานการวิจัยเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้านการวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

ทิศนา แขมมนี. (2548).รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Glass, G.V., McGaw, B. and Smith, M.L. (1981). Meta-analysis in Social Research. Beverly Hills, CA: SAGE Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-21