แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม

ผู้แต่ง

  • สิทธิกร สุทธิประภา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สังเวียน ปินะกาลัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สมพร หวานเสร็จ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง, เด็กที่มีภาวะออทิสซึม, ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม 2) พัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม และ3) ศึกษาผลการใช้แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กที่มีภาวะออทิสซึม ปีการศึกษา 2565จำนวน 10 คน และผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะออทิสซึม จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ แบบประเมินทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ของผู้ปกครองและเด็กที่มีภาวะออทิสซึม แบบวัดเจตคติ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและสถิติทดสอบ Wilcoxon matched pair signed- rank test  โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS และวิเคราะห์เนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม พบว่า จากการสนทนากลุ่มผู้ปกครองเห็นว่าเด็กที่มีภาวะออทิสซึม มีความสามารถด้านการรู้จักส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งผู้ปกครองเห็นว่าการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้
ถือเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่ควรเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก เพราะมองเห็นเป็นรูปธรรม เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง พัฒนาการคิดเป็นระบบ มีการวางแผนการทำงาน และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระได้ จึงควรมีแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของเด็กที่มีประสิทธิภาพ 2. ผลการพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม พบว่า ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) ขั้นตอนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 2) บทบาทผู้ที่เกี่ยวข้อง และ3) ระบบสนับสนุน ดังนี้
1) ขั้นตอน ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1.1) การเตรียมการ และ1.2) การดำเนินงาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1.2.1) ประเมินความสามารถพื้นฐานด้านการใช้คอมพิวเตอร์ 1.2.2) จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) หรือ แผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว (IFSP) 1.2.3) จัดทำแผนการสอนรายบุคคล (IIP) หรือแผนการจัดประสบการณ์ 1.2.4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1.3) การวัดประเมินผล ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินผลการเรียนรู้ 2) สรุปและรายงานผลการพัฒนาผู้เรียน 2) บทบาทผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บทบาทของผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง 3) ระบบสนับสนุน ได้แก่ 1) บุคลากร 2) งบประมาณ 3) สื่อ อุปกรณ์ 4) การบริหารจัดการ
และ3. ผลการใช้แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม พบว่า ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจหลังการใช้แนวทางฯสูงกว่าก่อนการใช้แนวทางฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ผู้ปกครองและเด็กที่มีภาวะออทิสซึม มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ หลังการใช้แนวทางฯสูงกว่าก่อนการใช้แนวทางฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ผู้ปกครองมีเจตคติหลังการใช้แนวทางฯสูงกว่าก่อนการใช้แนวทางฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสซึม อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ. ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ธรรมรัตน์ พงษ์ทอง. (2559). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกยาปฐมวัยของโรงเรียนในเขตอำเภอแก่ทางแมว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (14 สิงหาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา. 116(74ก). หน้า 2

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2560). ออทิสติก. ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565.จาก http://www.hoppyhomeclinic. com/au02autism.htm

รุ่งอรุณ บวรชัยเดช. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. (ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วรรธนา นันตาเขียน. (2553). ผลของการให้ความรู้การทํากิจกรรมในครอบครัวสําหรับผู้ปกครองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการพัฒนาจิตสาธารณะของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,บัณฑิตวิทยาลัย.

วิวรรณ สารกิจปรีชา. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้". กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย (พ.ศ. 2564 - 2570) พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Hoy,W.K.,&Miskel,C.G. (2001).Educationaladministration: Theory, research and practice(6th ed.). New York: McGraw-Hill.

Minke, K. M. and Anderson, K. J. (2005). Family-school collaboration and positive behavior support. Journal of Positive behavior Interventions, 7(3), 181-185.

Tan M, et al. (2010). Scalable approach for effective control of gene regulatory networks. Artif Intell Med, 48(1), 51-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28