การส่งเสริมความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสหวิทยาเขตยศสุนทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษมัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
คำสำคัญ:
ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, สหวิทยาเขตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตยศสุนทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร และ (2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการส่งเสริมความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตยศสุนทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 195 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- การส่งเสริมความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตยศสุนทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
- ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการส่งเสริมความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตยศสุนทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร มีดังนี้ ผู้บริหารสถานศึกษา ควรสนับสนุน จัดสรร วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณอย่างโปร่งใส สถานศึกษา ควรมีการบริหารจัดการทรัพยากร และปัจจัยที่สนับสนุนความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อย่างเพียงพอ และสถานศึกษา ควรมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมภายในโรงเรียน
References
นนทิยา สายแสงจันทร์ และ นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2563). การส่งเสริมความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(1), 31-41.
ปริศนา วิโนสุยะ. (2562). การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 จังหวัดตาก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร].https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php
วัชรพร แสงสว่าง และ กาญจน์ เรืองมนตร. (2563). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 328-343.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร. (2564). สรุปผลการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สิรภพ บุญยืน. (2560). แนวทางการแก้ไขการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา]. http://etheses.aru.ac.th/PDF/1256011925_11.PDF
สุภัทรา สภาพอัตถ์. (2562). การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].http://ithesisir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2729/1/59252927.pdf
Dufour, R., Eaker, R., & Many, T. (2010). Learning by doing: A handbook for professional learning communities at work. (2nd Ed.), Solution Tree.
Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of inquiry and improvement. Austin: Southwest educational development Laboratory.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Louis, K.S., & Kruse, S. D. (1995). Professional and community: Perspectives on reforming urban schools. Corwin press.
Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. Doubleday, MCB UP Ltd.
Thompson, S. C., Gregg, L., & Niska, J. M. (2004). Professional learning communities, Leadership and student learning. Retrieved from, http://www.nmsa.org/Publications/RMLEOnline/tabid/101/Default.aspx.