การใช้พรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1
คำสำคัญ:
การใช้พรหมวิหาร 4, การทำงานเป็นทีม, ครูบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการใช้พรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 4) เพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่ใช้ในการพยากรณ์การใช้พรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1
ผลการวิจัยพบว่า
- การใช้พรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.18 , S.D. = 0.67 )
- การทำงานเป็นทีมของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.12 , S.D. = 0.65 )
- การใช้พรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา กับการทำงานเป็นทีมของครู มีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับสูง (= 0.834) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
- ตัวแปรพยากรณ์พรหมวิหาร 4 ที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู ได้แก่ ด้านมุทิตา () ด้านอุเบกขา () ด้านเมตตา () ซึ่งตัวแปรทั้งสามร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการใช้พรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ได้ร้อยละ 72.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สามารถเขียนเป็นสมการถดถอยสำหรับการทำนาย ดังนี้ Zy ่ = 0.437 () + 0.238 () + 0.266 ()
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและ พัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). หลักการตามนโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566 จาก https://drive.google.com/drive/folders/1YnBLMoDsMAOePaZIcbIPG-1OD4TpL8p7 .
ดุลดา ศรีประเสริฐ. (2558). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย.” วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 1, 45-51.
ถิรมนัส ไหลสุพรรณวงค์. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(1), 175-194.
ธนพงษ์ จอมพระ, ลินดา นาคโปย, และ สายฝน เสกขุนทด. (2565). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9, 110-120.
นวนละออง สีดา, พจนีย์ มั่งคั่ง, และ กัญภร เอี่ยมพญา. (2565). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9, 8-22.
บรรจง ลาวะลี. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไร้พรมแดน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกฏุราชวิทยาลัยวิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(2), 208-210.
พระครูสังฆรักษสุทิน (ส่องรส). (2560).หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารบุคลากรของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). สู่การศึกษาแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
พระมหาณัฐวุฒิ ฐานวุฑฺโฒ (เอียดเรือง). (2562). การใช้หลักพรหมวิหารธรรมในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการธรรมยุต จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการปกครอง, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา,
ศรีสุดา กานดา. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1.(2565). นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566 จาก https://www.surat1.go.th/files/downloads/1657533130202207110452101.pdf .