การบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • สงวน อินทร์รักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา, นวัตกรรมการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรม การศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) เพื่อยืนยันองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย โรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 432 โรง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางประมาณการขนาดตัวอย่าง ของเครซี่ และมอร์แกน ได้จำนวน 205 โรง โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลแห่งละ 3 คนประกอบไปด้วย
1) ผู้อำนวยการ 2) รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และ 3) ครู รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 615 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถาม
เพื่อยืนยันองค์ประกอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน มี 10 องค์ประกอบ ดังนี้คือ 1.1) การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา 1.2) การใช้นวัตกรรมการศึกษา 1.3) การสร้างเครือข่ายโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
1.4) การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากร 1.5) การสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการ 1.6) หลักการบริหารจัดการ 1.7) การกำหนดเป้าหมายของพื้นที่นวัตกรรม 1.8) การปฏิบัติที่เป็นเลิศ 1.9) ภาวะผู้นำทางนวัตกรรมของผู้บริหาร และ 1.10) การกำหนดคุณลักษณะโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรม 2. ผลการยืนยันองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

References

จารุวรรณ นาตัน, “นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก,” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 6, 3 (กันยายน – ธันวาคม, 2556): 729.

ฐิตินันท์ นันทะศรี วาโร เพ็งสวัสดิ์ วัลนิกา ฉลากบาง และ พรเทพ เสถียรนพเก้า. “ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา,”วารสารบัณฑิตศึกษา. 17, 79 (ตุลาคม-ธันวาคม, 2563): 11.

บุญชู บุญลิขิตศิริ และคณะ. การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษา ในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดระยอง และจังหวัดศรีสะเกษ. (รายงานการวิจัย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2564), ง.

“แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580),” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82ก (13 ตุลาคม 2561): 1.

พระครูกิตติญาณวิสิฐ (ธนา หอมหวล), พระครูวิรุฬห์สุตคุณ (อุดมศักดิ์) ระวิง เรืองสังข์ และ สุทิศ สวัสดี (2565) “แนวทางการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา,” วารสารศิลปะการจัดการ. 6, 2 (เมษายน – มิถุนายน, 2565): 747..

รัฐวัลย์ เหมือนมาตร และคณะ. “แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูโรงเรียนขนาดเล็กในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1.” วารสารปัญญา. 27, 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม, 2563): 72-73.

มนต์นภัส มโนการณ์ และ สุบัน พรเวียง, “แนวทางการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษานําร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่,” วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564): 151.

สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทำนอกกรอบพัฒนาสมรรถนะเด็ก, เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.sobkroo.com/articledetail.asp?id=1035.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, “รูปแบบการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาต้นแบบแบบองค์รวมด้วยกระบวนวิจัยแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี,” (รายงานการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563): 95-103.

อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี สุเมธ งามกนก และสมพงษ์ ปั้นหุ่น. “การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,”วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 12,3 (กรกฎาคม – กันยายน, 2561): 207-208.

Gulick, Luther and Urwick, Lyndall, The Science of Administration. (New York: Columbia University, 1973).

Nixon, J. D., “Administrative Best Practices to Influence Culture in a Rural Middle School of Poverty.” Ed.D. dissertation Department of Education Clemson University, 2015. Accessed August 6, 2019. Abstract from https://eric.ed.gov/?id=ED589867.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-22