การแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทย ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอน ภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • พระมหาพิเชษฐ์ อตฺตานุรกฺขี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาสมศักดิ์ ธนปญฺโญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระสุขุม สุขวฑฺฒโก (มัชชิกานัง) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระจักรพัชร์ จกฺกภทฺโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • รักษ์ทวี เถาโต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทย, การแก้ไข

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทย ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาสาเหตุของข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทย ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย      3) เพื่อนำเสนอวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทย ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตารางวิเคราะห์ข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยผลการวิจัยพบว่า ข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทย ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พบว่ามี 4 ประเด็นหลัก คือ 1. ข้อบกพร่องเรื่องการเขียนสะกดคํา 2. การใช้คํา 3. การเขียนประโยค และ 4. การเขียนย่อหน้า จากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องในการเขียนที่พบมากที่สุด ได้แก่ ด้านการใช้คำ จำนวน 110 คำ คิดเป็นร้อยละ 35.48 รองลงมาเป็น ด้านอักขรวิธี จำนวน 100 คำ คิดเป็นร้อยละ 32.25  ด้านการใช้ประโยค จำนวน 60 ประโยค คิดเป็นร้อยละ 19.35 และที่พบน้อยที่สุดได้แก่ ด้าน รูปแบบการเขียน จำนวน 45 รูปแบบ คิดเป็นร้อยละ 14.51 และ สาเหตุของข้อบกพร่องด้านการใช้ภาษา ได้แก่ 1) ขาดความรอบรู้ 2) ขาดความแม่นยำ 3) ขาดการตรวจทาน 4) ขาดการฝึกฝน 5) ขาดทัศนคติที่ดี  วิธีการแก้ไขข้อบกพร่องด้านการใช้ภาษา ได้แก่ 1) การเสริมสร้างความรู้ 2) การเสริมสร้างความเชื่อมั่น 3) การฝึกทักษะการเขียน 4) การตรวจทานงานเขียน 5) การปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน 6) การปลูกฝังนิสัยรักการเขียน 7) การปลูกฝังทัศนคติที่ดี

References

เปรมจิต ศรีสงคราม. (2534). การเขียนทั่วไป. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครูจันทรเกษม.

สมปัต ตัญตรัยรัตน์. (2545). สอนให้คิด คิดแล้วเขียน เขียนจากความคิด. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมบัติ ศิริจันดา. (2554). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

สุนีติ์ ภู่จิรฐาพันธุ์. (2555). การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2556). การอ่านและการเขียนทางวิชาการ. กรุงเทพฯ :โอเอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ชนกพร อังศุวิริยะ. (2560). พัฒนาการเขียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

โชษิตา มณีใส. (2553). การใช้ภาษาไทยเพื่อประสิทธิผล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทัศนีย์ ทานตวณิช. (2556). ข้อผิดพลาดในการเขียนเชิงวิชาการของนิสิตวิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดวงใจ ไทยอุบุญ. (2550). ทักษะการเขียนภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐานะมนตร์ กลิ่นจันทร์แดง. (2555). การศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2552. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนู ทดแทนคุณ และปวีณา จันทร์สุวรรณ. (2558). ข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทย : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี นนทบุรี: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี. 110

บุญศิริ ภิญญาธินันท์ และดลฤทัย ขาวดีเดช. (2552). การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและความผิดพลาด ในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ธัญญา ผลอนันต์ และขวัญฤดี ผลอนันต์ (2550). Mind Map® กับการศึกษาและการจัดการความรู้ กรุงเทพฯ: ขวัญข้าว.

จินตนา พุทธเมตะ. (2554). การศึกษาข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาในโครงการความร่วมมือทางวิชาการ วิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาภาษาไทย คณะภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก มหาวิทยาลัย ภาษาและการค้าต่างประเทศกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2552. ศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์) .

ดวงใจ ไทยอุบล. (2550). ปัญหาการใช้ภาษาไทยในงานเขียน กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา กาญจนะวรรณ. (2554). ปัญหาการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25