การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา ไวโสภา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • กมลรัตน์ วงศ์ถามาตย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, คณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหทัยคริสเตียน จังหวัดเลย โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จากการจับฉลากจำนวน 1 ห้องเรียน จากทั้งหมด 4 ห้องเรียน ซึ่งนักเรียนของแต่ละห้องเป็นแบบคละความสามารถ ได้กลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียน จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง บทประยุกต์ จำนวน 5 แผน   แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบวัดความพึงพอใจต่อการการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง บทประยุกต์

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสอดคล้องเหมาะสม ในระดับ มาก
  2. เปรียบเทียบคะแนนการจัดการเรียนรู้จากการเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างเรียนมีค่าร้อยละ 87 และคะแนนสอบหลังเรียนมีค่าร้อยละ 88แสดงให้เห็นว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่ตั้งไว้
  3. การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 ที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเท่ากับ 4.96 คะแนน และคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 8.91คะแนน และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 ที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  4. 4. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริม

นิวัฒน์ สาระขันธ์. (2545). กิจกรรมเสริมความคิดเรียนคณิตให้สนุก. วิทยาจารย์ 100.10:14-17 ; มกราคม.

บุญนำ อินทนนท์. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโยธินบำรุงที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.

พิจิตร อุตตะโปน. (2550). ชุดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมพ์พร ฟองหล่ำ (2555). คณิตศาสตร์ทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม

วาสนา กิ่มเทิ้ง. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–Based Learning)ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์และความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ทักษะ /กระบวนการทางคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: หจก. ส เจริญการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25