การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2

ผู้แต่ง

  • เกวลิน เพชรศร สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • บรรจง เจริญสุข สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ญาณิศา บุญจิตร์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, สถานศึกษาพอเพียง, การพัฒนารูปแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาพอเพียง 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง  และ3) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2 การวิจัยมี 3 ขั้นตอน  ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2  จำนวน  127 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.82  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง พิจารณาตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2 จำนวน 127 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาพอเพียง โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่  ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา  ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา  ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล  ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  และด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ 2) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง พบว่า มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การบริหารจัดการสถานศึกษา (2) หลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  (3) การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (4) การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา (5) การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล และ (6) ผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ  3) ผลการตรวจสอบรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยรวม  อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2550). แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ที.เอส.บี. โปรดักส์.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การใช้ SPSS for Windows. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

ฉัตรชัย ตั้งศรีทอง พิกุล ภูมิโคกรักษ์ และนฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 13(2), 58-74.

ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี. (2554). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธนา โด่งพิมาย. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

บรรจง พลขันธ์ ศิริ ถีอาสนา และปองภพ ภูจอมจิตร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาวิทยาลัยสารพัดช่างมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(2), 105-119.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2563). เศรษฐกิจพอเพียง [Online].เข้าถึงได้จาก : https://www.chaipat.or.th/site_content/item/3579-2010-10-08-05-24-39.html [2563, กรกฎาคม 29]

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. ( 2555). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ ฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(2), 140-153.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2554). ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 11 (ฉบับชุมชน). กรุงเทพฯ: สหมิตร พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.).(2563). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง [Online].เข้าถึงได้จาก : http://www.rdpb.go.th/th/Sufficiency[2563, กรกฎาคม 29]

สำนักงานศึกษาธิการภาค 1. (2561). รายงานผลการประเมินสถานศึกษาเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานศึกษาธิการภาค 1.

Krejcie, R.V.& D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York : McGraw – Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25