นิติปรัชญาในระบบกฎหมายอาญาไทยกับพุทธจริยศาสตร์ว่าด้วยปาณาติบาตกรรม

ผู้แต่ง

  • อภิโชค เกิดผล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สิริพร ครองชีพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กฤตสุชิน พลเสน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปาณาติบาต, พุทธปรัชญา, กฎหมายอาญา, นิติปรัชญา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษา นิติปรัชญาในระบบกฎหมายอาญาไทยกับพุทธจริยศาสตร์ว่าด้วยปาณาติบาตกรรม ได้ความว่า ศีลข้อที่หนึ่งว่าด้วยการงดเว้นการก่อปาณาติบาตกรรมหรือการงดเว้นการฆ่าสัตว์เป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งในพระพุทธศาสนา แต่หลักการเกี่ยวกับการงดเว้นปาณาติบาตกรรมนี้กลับมีความซับซ้อนมากกว่าที่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่เข้าใจกัน โดยหลักการเกี่ยวกับการวินิจฉัยเพื่อตัดสินว่าการกระทำใดเป็นปาณาติบาตกรรมรวมไปถึงหลักการที่ว่าด้วยความรุนแรงของปาณาติบาตกรรมที่มีรูปแบบต่าง ๆ กันนั้นยังเป็นสิ่งที่มีรายละเอียดมากกว่าความเข้าใจของชาวพุทธโดยทั่วไป เมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะกรณีปาณาติบาตกรรมที่กระทำต่อชีวิตมนุษย์กับนิติปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังระบบกฎหมายอาญาของไทยแล้วพบว่า จริยศาสตร์ที่ปรากฏตัวอยู่ในพุทธปรัชญามีความใกล้เคียงสอดคล้องกันกับจริยศาสตร์ที่ปรากฏตัวอยู่ในนิติปรัชญาอย่างมีนัยสำคัญ ระบบคิดทางปรัชญาทั้งสองระบบดังกล่าวเป็นระบบคิดทางปรัชญาที่มีสถานที่กำเนิด เวลาที่ก่อกำเนิด และความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน แต่เมื่อพบว่ามีความเหมือนกันอย่างน่าประหลาดใจแล้วทำให้เห็นว่า ปรีชาญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงคิดค้นพุทธปรัชญาขึ้นนั้นเป็นที่สิ่งที่มีความร่วมสมัยและมีตรรกะเหตุผลทัดเทียมกับนิติปรัชญาเบื้องหลังระบบกฎหมายอาญาซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากล ในแง่นี้เองจึงทำให้เห็นว่าพุทธปรัชญาเป็นระบบคิดทางปรัชญาระบบหนึ่งที่ควรค่าแก่การศึกษาควบคู่ไปกับปรัชญาสาขาอื่นเป็นอย่างยิ่ง

References

คณาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). พระวินัยปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนครศรีอยุธยา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

คณาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). พระสุตตันตปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนครศรีอยุธยา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย (ภาษาไทย).

มงคลทีปนี. (2522). มงฺคลตฺถทีปนี ปฐโม ภาโค. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาทวี ฐานวโร. (2535). ปาณาติบาตกับปัญหาจริยธรรมในพุทธปรัชญา.วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, พระ.(2525). ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสัคหฎีกา ปริเฉทที่ 5 เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สุทธิสารการพิมพ์.

สีวลี ศิริไล. (2529). การศึกษาเชิงวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ จริยธรรม และเกณฑ์ตัดสินปัญหาจริยธรรมทางการแพทย์ในสมัยปัจจุบัน, รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25