การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

ผู้แต่ง

  • วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ภัทราวรรณ จันทร์เนตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, สมรรถนะวิชาชีพครู, หลักสูตรฐานสมรรถนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา 2) ปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษา และ2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 2,589 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 177 คน และครูผู้สอน จำนวน 180 คน รวมทั้งสิ้น 357 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา 2) แบบสอบถามปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษา และ3) แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

ผลการวิจัยพบว่า

1) สภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.54 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 ด้านการส่งเสริมสนับสนุนระดับสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 และด้านการดำเนินการระดับชั้นเรียนอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50

2) ปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.19 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 ด้านการพัฒนาหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 ด้านการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.22 และด้านครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.03

3) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 ด้านเทคนิคและการออกแบบหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 ด้านการออกแบบกิจกรรมฐานสมรรถนะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87

References

จีรศักดิ์ หมุนขำ สิริพร อั้งโสภา และอัคครัตน์ พูลกระจ่าง. (2563). การพัฒนาหลักสูตรอบรมฐานสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูผู้ช่วยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา. 4(1), 89-96.

เฉลิมชัย พันธ์เลิศ. (2562). หลักสูตรฐานสมรรถนะกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. วารสารวิชาการ. 22(1), 22-30.

ชรินรัตน์ สีเสมอ และสถาพร ขันโต. (2555). สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6(1), 30-38.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีรยาสาส์น.

พรนัชชา ราชคม. (2557). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 37(4), 94-102.

รัมภา กุณพันธนาภา และวิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเน้นสมรรถนะการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันที่เน้นการคิดไตร่ตรองสำหรับครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(1), 160-170.

วัฒน์ พลอยศรี. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานพิมพ์ดิจิทัล สำหรับพนักงานใหม่ในโรงพิมพ์พื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 4(1), 234-249.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (2563). ข้อมูลสารสนเทศบุคลากร. พระนครศรีอยุธยา: เอกสารอัดสำเนา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุภชาดา เหมปาละธำรง. (2559). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนต้นแบบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1-3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 6(1), 337-348.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25