วิจารณ์วรรณกรรมเรื่องสิทธารถะของเฮอร์มานน์ เฮสเส

ผู้แต่ง

  • พระปริยัติวชิรกวี (ไมตรี กองแสน) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏรชวิทยาลัย
  • จตุภูมิ แสนคำ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏรชวิทยาลัย
  • ทิวา สุขุม นักวิชาการอิสสระ

คำสำคัญ:

วิจารณ์วรรณกรรม, สิทธารถะ, เฮอร์มานน์ เฮสเส

บทคัดย่อ

สิทธารถะเป็นวรรณกกรรมที่เฮอร์มานน์ เฮสเส ประพันธ์ขึ้นมาในช่วง ค.ศ. 1919-1922 ได้รับการตีพิมพ์ออกไปในหลายภาษาเป็นวรรณกรรมเชิงปรัชญาศาสนา ที่พยายามจะนำเสนอปรัชญาอินเดียโดยสร้างกรอบแนวคิดทางปรัชญาขึ้นมาใหม่ในแนวทางของตะวันตก และใช้แนวทางของพุทธประวัติในการดำเนินเรื่อง บทความวิชาการฉบับนี้ ใช้วิธีการสืบค้นแบบค้นคว้าจากเอกสาร (document research) เพื่อสืบค้นว่า วรรณกรรมฉบับนี้ได้นำพุทธประวัติไปใช้ในการดำเนินเรื่องอย่างไร มีการนำเสนอมุมมองทางปรัชญาอินเดียโดยนำเสนอให้กลายเป็นแนวปรัชญาตะวันตกได้หรือไม่อย่างไร โดยจากการวิเคราะห์เนื้อความของวรรณกรรมก็พบว่า ใช้แนวทางของพุทธประวัติในการดำเนินเรื่องจริง โดยขับเคลื่อนเนื้อเรื่องผ่านอุปนิสัยของตัวละครเอก พร้อมกับนำฉากในเนื้อเรื่องมาเปลี่ยนบทบาทและเหตุการณ์ แต่ในด้านปรัชญา ตัววรรณกรรมยังไม่สามารถฉีกแนวทางของปรัชญาอินเดียได้มากนัก ยังคงรักษาแนวทางเดิมอยู่ เพียงแต่นำเสนอผ่านวรรณกรรมตะวันตก ทำให้ต้องมีความสนใจในปรัชญาอินเดียระดับหนึ่ง จึงจะเข้าใจปรัชญาของอินเดียที่แฝงอยู่ในวรรณกรรมได้อย่างเข้าใจ

References

กรมศิลปากร. (2510). พุทธประวัติฝ่ายมหายานในธิเบต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2510.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2470). พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 17, สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2562). ภูมิปัญญาอินเดียโบราณ: ประวัติศาสตร์และปรัชญา ทางสายกลางแบบพุทธ พราหมณ เชน. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2555). ปรัชญาอินเดีย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

เฮอร์มานน์ เฮสเส. (2562). สิทธารถะ (Siddhartha). พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2562.

Jha, Gangganatha. (1942). The chāndogyopanishad. Allahabad: Oriental Book Agency Poona.

Hesse, Hermann. (2008). Siddhartha. trans.Gunther Olesch and others. April 6, 2008.

Robert E. Buswell Jr. and Donald S. Lopez Jr. (2014). The Princeton Dictionary of Buddhism. New Jersey: Princeton University Press.

Walf, Alicia. (2020). “Let Your Brain Rest: Boredom Can Be Good For Your Health” Accessed September 10, 2022, Available from https://www.newswise.com/articles/let-your-brain-rest-boredom-can-be-good-for-your-health

The Nobel Prize. “Hermann Hesse bibliography” Accessed August 24, 2022, Available from https://www.nobelprize.org/prizes/literature/1946/hesse/bibliography/

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25

ฉบับ

บท

บทวิจารณ์หนังสือ