การพัฒนานวัตกรรมการบริหารการศึกษาในสถานศึกษา
คำสำคัญ:
การพัฒนานวัตกรรมการบริหารการศึกษา, องค์กรแห่งนวัตกรรม, นวัตกรรมการบริหารในสถานศึกษาบทคัดย่อ
สถานศึกษาเป็นแหล่งให้การศึกษา อบรมสั่งสอน ถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชนในทุกพื้นที่ชุมชนตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งวัยผู้สูงอายุ สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงของสังคมให้ทันยุคสมัยหรืออนุรักษ์วัฒนธรรมที่มีคุณค่าไว้ให้คงอยู่ต่อไป ทั้งนี้สถานศึกษาหรือโรงเรียนจึงมีความสำคัญต่อการสร้างสังคมในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสื่อสาร และนวัตกรรมการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรในสถานศึกษาจึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการบริหารและการจัดการเรียนรู้ให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation Organization) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้จึงให้ความสำคัญกับการนำหรือการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ในการสร้างนวัตกรรมทั้งที่เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ๆโดยการพัฒนารูปแบบการบริหารหรือการจัดการเรียนรู้ให้ดีขึ้นกว่าสิ่งที่เป็นมาแบบเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการสร้างนิสัยการทำงานของบุคลากร สร้างสรรค์รูปแบบการปฏิบัติงาน สร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เน้นวิธีการใหม่ๆเพื่อพัฒนาองค์กรการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เหล่านี้มาจากผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีการสั่งสมความรู้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Master learning person) ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และพัฒนาเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2550). หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้รองรับการกระจายอำนาจ. นครปฐม :สำนักงาน บุคลากรการศึกษา.
ราชกิจจานุเบกษา.(2562). พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.๒๕๖๒. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๕๖ ก, หน้า 102 - 120.
อัจศรา ประเสริฐสิน เทพสุดา จิวตระกูล และจอย ทองกล่อมศรี. (2560). การศึกษาแนวทางการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำวิจัยของครู,วารสารบรรณศาสตร์ มศว ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2560
อรุณี ตระการไพโรจน์, (2564), “การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์ตามแนวมอนเตสซอรี่บนพื้นฐานพระคัมภีร์ของโรงเรียนเชียงคำคริสเตียน” สารนิพนธ์ มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยคริสเตียน.