การเสริมสร้างคุณลักษณะวิชาชีพครูตามอัตลักษณ์ของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างคุณลักษณะวิชาชีพครู, อัตลักษณ์ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างคุณลักษณะวิชาชีพครูตามอัตลักษณ์ของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือเพื่อแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะวิชาชีพครูตามอัตลักษณ์ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 256 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ (t-test) เปรียบเทียบตัวแปรเพศและสาขาวิชา ด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า
- คุณลักษณะวิชาชีพครูตามอัตลักษณ์ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย คือ สำนึกดี มุ่งมั่น สร้างสรรค์ สามัคคี โดยภาพรวม นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีคุณลักษณะวิชาชีพครูตามอัตลักษณ์ของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22,S.D..716
2.ผลเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะวิชาชีพครูตามอัตลักษณ์ของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย คือ สำนึกดี มุ่งมั่น สร้างสรรค์ สามัคคี ซึ่งภาพรวมการเสริมสร้างคุณลักษณะวิชาชีพครูตามอัตลักษณ์ของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อยู่ในระดับมาก
3.แนวทางข้อเสนอแนะการเสริมสร้างเสริมสร้างคุณลักษณะวิชาชีพครูตามอัตลักษณ์ของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยจากผู้เชี่ยวชาญ อาทิเช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ในศาสตร์หรือวิชาชีพเฉพาะ, มีการเชื่อมโยงความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพกับวิชาเอก อย่างเป็นรูปธรรม, สร้างกระบวนการผลิตนักศึกษาครูที่มีประสิทธิภาพอันเกิดจากความร่วมมือและ การทำงานร่วมกันระหว่างผู้ใช้บัณฑิต ผู้ผลิตบัณฑิต ชุมชน และสังคม, จัดกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียนให้มีจิตวิญญาณและจิตสํานึกที่ดีในวิชาชีพ, สร้างรูปแบบการสร้างเสริมคุณลักษณะของการเป็นครูมืออาชีพซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของคณะศึกษาศาสตร์, จัดค่ายอาสาเพื่อส่งเสริม สนับสนุน การสร้างจิตอาสาในรูปแบบที่หลากหลายโดยผู้เรียนสามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามความสนใจ เป็นต้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562).มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562ราชกิจจานุเบกษา; 6 มีนาคม.
จตุพร คอนโสม. (2555). การสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์ของคนไทย เชื้อสายเวียดนามบ้านนาจอกขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ําโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
จาตุรนต์ ฉายแสง. (2556). ชูวาระแห่งชาติรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา[Online] Available : http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.
จิตต์ภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา.(2551). ลักษณะผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้าย. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต การอุดมศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เฉลิมรัตน์ ไทยวี.(2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของพนักงานบริการลูกค้าบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน), วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรม,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่แห่งการศึกษาในศตวรรษที่ 21” .เอกสาร ประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาความสามารถในการเป็นพี่เลี้ยง (mentoring) นิสิต นักศึกษาครูคณะครุศาสตร์ ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 26-30 สิงหาคม. อัดสำเนา
ชนิดา ยอดดี. (2534). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติในการประกอบอาชีพอิสระของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชรอยวรรณ ประเสริฐผล และคณะ.(2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูใหม่โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา.วารสารศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร 15, ฉบับพิเศษ 43-53.
ชัยยนต์ ศรีเชียงหา. (2554). การพัฒนาแนวคิดเรื่องสมดุลเคมีและเจตคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจําลองเป็นฐาน .วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิชาชีพครู. รายงานการวิจัยนี้ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีงบประมาณ 2555.
Ailen, M. J. (2006). Assessing General Education Program. San Francisco: Jossey-Bass.
Mccall, G. J. (1987). The structure, content and dynamics of self: Continuities in the study ofrole-identities.” In K. Yardley and T. Honess. (eds.). Self andidentity: Psychosocialperspectives. New York: John Wiley & Sons.
Allport W. Gordon. (1968).The Person in Psychology. 1st ed. Michigan: Beacon Press,.
Abbas, Z. and Fatemeh G. (2014). Professional identity construction issues in becoming anEnglish teacher. International Conference on Current Trends in ELT 98: 1991 - 1995.
Alexander, Astin W. (1993).What Matters in College: Four Critical Years Revisited. Journalof Higher Education 22, 8: 71 – 75.