นวัตกรรมและกลไกการเพิ่มประสิทธิภาพการทำสมาธิโดยใช้เสียงสวดมนต์ที่เหมาะสมกับกลุ่มคนวัยทำงาน : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง

ผู้แต่ง

  • วสันต์ ฉายรัศมีกุล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ดำรงค์ เบญจคีรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูปลัดสุวัฒนสัจจคุณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเพิ่มประสิทธิภาพ, การทำสมาธิ, คลื่นไฟฟ้าสมอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรม กิจกรรม และศึกษาผลการทำกิจกรรม    การทำสมาธิโดยใช้เสียงสวดมนต์ที่เหมาะสมของกลุ่มคนวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ  คนวัยทำงานตอนต้น อายุ 15-29 ปี คนวัยทำงานตอนกลาง อายุ 30-44 ปี และ คนวัยทำงานตอนปลาย อายุ 45-60 ปี จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ กิจกรรมการทดลองฟังเสียงสวดมนต์ที่เหมาะสมของกลุ่มคนวัยทำงาน และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง สถิติที่ใช้ Two-way ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า

1. คลังเสียงการทำสมาธิในกลุ่มคนวัยทำงาน ประกอบด้วย 4 บทสวด ผลการประเมินคลังเสียงผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทดลองใช้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกด้าน

2. กิจกรรมการทำสมาธิโดยใช้เสียงสวดมนต์ที่เหมาะสมของกลุ่มคนวัยทำงาน ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ใช้รวมเวลาทั้งหมด 36 นาที 5 วินาที

3. ค่าเฉลี่ยความสูงศักย์ไฟฟ้าสมองคลื่นอัลฟ่า มีความแตกต่างระหว่างเพศขณะปฏิบัติกิจกรรมการทำสมาธิโดยใช้เสียงสวดมนต์ที่เหมาะสมของกลุ่มคนวัยทำงาน ในคลื่นความถี่อัลฟ่า ที่ตำแหน่ง AF4 มีความแตกต่างระหว่างวัยทำงาน (ทำงานตอนต้น วัยทำงานตอนกลาง วัยทำงานตอนปลาย) ที่ตำแหน่ง FC5 และ T7 และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับวัยทำงานที่มีผลต่อคลื่นไฟฟ้าสมองคลื่นอัลฟ่า ขณะปฏิบัติกิจกรรมการทำสมาธิโดยใช้เสียงสวดมนต์ที่เหมาะสมของกลุ่มคนวัยทำงาน ที่ตำแหน่ง AF4

References

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2549). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. 45 เล่ม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร, พุทธวรรณ ชูเชิด และสุจิตรา สุทธิพงศ์. (2557). การเปรียบเทียบผลการสวดมนต์และการฟังเสียงสวดมนต์ต่อความเครียดและคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 386-394.

แพทย์พงษ์ วรพงค์พิเชษฐ. (2554). Mind and Body Medicine สมาธิบาบัด. วารสารสำนัก การแพทย์ทางเลือก, 4(1), 9-16.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2551). พระไตรปิฎกแก่นธรรม. 6 เล่ม กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์. (2562). กรมสุขภาพจิตแนะคนไทยสร้างสุขด้วย ‘5สมาร์ท’. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ ธันวาคม, 15, 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27432.

Kabat-Zinn, J. (2013). Full Catastrophe Living, Revised Edition: How to Cope with Stress, Pain and Illness Using Mindfulness Meditation. Hachette UK.

Kabat-Zinn, J., & Davidson, R. (Eds.). (2012). The Mind's Own Physician: A Scientific Dialogue with The Dalai Lama on The Healing Power of Meditation. New Harbinger Publications.

Taylor, A. G., Goehler, L. E., Galper, D. I., Innes, K. E., & Bourguignon, C. (2010). Top- Down and Bottom-Up Mechanisms in Mind-Body Medicine: Development of an Integrative Framework for Psychophysiological Research. EXPLORE: The Journal of Science and Healing, 6(1), 29-41.

Owusu, M. B., Chaukos, D. C., Park, E. R., & Fricchione, G. L. (2017). Mind–Body Medicine. Massachusetts General Hospital Handbook of General Hospital Psychiatry E-Book, 455.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

ฉายรัศมีกุล ว., เบญจคีรี ด. ., & พระครูปลัดสุวัฒนสัจจคุณ. (2024). นวัตกรรมและกลไกการเพิ่มประสิทธิภาพการทำสมาธิโดยใช้เสียงสวดมนต์ที่เหมาะสมกับกลุ่มคนวัยทำงาน : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง. ศึกษาศาสตร์ มมร, 12(2), 107–118. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/276897