การพัฒนาเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการ 1S2C ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต1

Main Article Content

ขจรศักดิ์ สอนแพร
กาญจนา บุญส่ง
ไพรัช มณีโชติ

บทคัดย่อ

การพัฒนาเครือข่ายครูสอนประวัติศาสตร์จะช่วยแก้ปัญหาที่ผ่านมาของการสอนประวัติศาสตร์แบบอ่านและ ท่องจำ ทำให้นักเรียนไม่ได้รับการฝึกกระบวนการทางประวัติศาสตร์ และทำให้นักเรียนไม่มีโอกาสพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจวิจัยเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1. พัฒนาเครือข่ายการจัดการ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ใช้กระบวนการ 1S2C 2. พัฒนาผลการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ใช้ กระบวนการ 1S2C ของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยใช้ กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน ครู จำนวน 8 คน และนักเรียน จำนวน 249 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1 เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม 2. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการ 1S2C ของสถาน ศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต1พบว่าการจัดต้ังเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการ 1S2C มีลักษณะเป็นเครือข่ายตามสถานการณ์ กลไกการขับเคลื่อนเครือข่าย คือ 1. ผู้ อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ 2. ศึกษานิเทศก์ 3. ผู้อำนวยการสถานศึกษา และ 4. ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ ผลการพัฒนา ครูเครือข่าย พบว่า ครูเครือข่ายมีความสามารถจัดกิจกรรม 1S2C โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน คือ 1. ตั้ง ประเด็นคำถาม 2. รวบรวมหลักฐานข้อมูล 3. วิพากษ์หลักฐาน/ประเมินค่า 4. ตีความ/วิเคราะห์ และ 5. สรุปนำเสนอ ผล การพัฒนาผลการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ใช้กระบวนการ 1S2C ของสถานศึกษาใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ทาง ประวัติศาสตร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หลังจากที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียน รู้ประวัติศาสตร์ที่ใช้กระบวนการ 1S2C จนครบทุกกิจกรรม นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์อยู่ในระดับ ดี (X= 4.19, S.D. = 0.07) และนักเรียนได้รวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้วยตนเอง ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เกิด ความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในแหล่งประวัติศาสตร์ที่มีในท้องถิ่น ข้อค้นพบจากการวิจัย แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการ 1S2C ทำให้นักเรียนได้มีโอกาสในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์โดยใช้แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นใกล้โรงเรียน ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการส่งเสริมเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้ กระบวนการ 1S2C อย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สิริวรรณ ศรีพหล. (2553). การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ชัยรัตน์ โตศิลา, (2555).การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด ทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตภาควิชาหลักสูตรและการ สอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.หน้า141
ทุติยาภรณ์ ภูมิดอนนิ่ง. (2551). ความรู้ความเข้าใจในวิธีการทางประวัติศาสตร์ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำวิธีการทาง ประวัติศาสตร์ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา (ช่วงชั้นที่ 3 ถึง 4) ในจังหวัด ขอนแก่น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หน้า 18.
ประยูร อัครบวรและคณะ. (2553). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (Network Building and Participatory). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดเล็ก. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.
เรณุมาศ กุละศิริมา และคณะ. (2557). แนวทางในการจัดการความรู้โดยใช้เครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ชุมชน ตำบลโคกโค เฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต
ศศิพัชร จำปา. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์. ในวารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ ศิลปะ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2559. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันสังคมศึกษา. (2560). การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2559). สุดยอดในสยามที่เมืองประจวบคีรีขันธ์ ศิลปวัฒนธรรมแห่งเมือง. ประจวบคีรีขันธ์ : หจก.อรุณการพิมพ์.


Translated Thai Reference
Akaraborworn Prayoon and Faculty. (2010). Network Building and Participatory. (2010). Bangkok: Chulalongkorn University Printing School.(in Thai)
Songkran Kaew. (2005). Communication network for succession of the ghost dance tradition - Pho Meng. Nonthaburi:Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)
Social Studies Institute. (2017). Learning history through historical learning resources. Bangkok: Organization Printing Veterans assistance. (in Thai)
Phoomdonning Tuttiyaporn. (2008). Knowledge and understanding of historical methods And comments on the implementation of the wayHistory used in teaching and learning of secondary school social studies teachers (grade 3 to 4) in Khon Kaen province. Master of Education Thesis. Khon Kaen: Khon Kaen University. Page 18. (in Thai)
Sriphahon Siriwan. (2010). History teaching management in educational institutions. Nonthaburi: Publishing Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)
Champa Sasipatcha. (2016). Development of a model for learning management of local history by using historical sources To promote the historical thinking process. In Thai language journals, Humanities, Social Sciences and Art, Year 9, Issue 2, May-August 2016. Silpakorn University. (in Thai)
Ministry of Education. (2009). Indicators and core learning content, learning strand, social studies, religion and Culture according to the core curriculum of basic education, BE 2551. Bangkok: The Agricultural Cooperative Assembly of Thailand Limited. (in Thai)
Prachuap Khiri Khan Provincial Cultural Office. (2016). The ultimate in Siam at the city of Prachuap Khiri Khan, the arts and culture of the city.Prachuap Khiri Khan: Arun Printing LP. (in Thai)
Thepkraiwan Pisit. (2011). Development of a collaborative network model for quality of educational management in primary schools Small Dissertation. Doctor of Philosophy Studies Faculty of Management Studies College Khonkaen University. (in Thai)
Renumas Kulasirima and Faculty. (2014). Guidelines for knowledge management by using the learning community network at Khok Kho Sub-districtThao, Muang District, Suphan Buri Province. Participatory action research project College Suan Dusit Rajabhat University. (in Thai)
Tosila Chaiyat, (2012). Development of teaching and learning processes using historical methods To promote thinking skills History of Mattayom Suksa 2 students. Doctor of Philosophy Thesis Department of Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Chulalongkorn University. Page 141.(in Thai)