คณุภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาระดับประถมศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 2 กระทรวงศึกษาธิการ

Main Article Content

สมชาย พุทธโกสัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลตามแบบจำาลองคุณภาพการ บริหารจัดการสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก ในเขตตรวจราชการที่ 2 กระทรวงศึกษาธิการ ข้อมูลจากแบบสอบถามที่มีค่าความตรงและความเที่ยงสูง จำานวน 558 ฉบับของ ผู้ อำานวยการ กรรมการสถานศึกษา และ ครูผู้สอน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ถูกนำาไปวิเคราะห์ด้วย ค่าสถิติคือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทาง เดียว การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการบริหาร จัดการสถานศึกษาทุกปัจจัยและทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) กลุ่มโรงเรียนขนาดใหญ่ และขนาดกลาง มีคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสูงกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก ใน 4 ด้านคือ ด้านการนำาองค์กร ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ ด้านการจัดการกระบวนการ และด้านคุณภาพ การบริหารจัดการสถานศึกษา อย่างมีนัยสำาคัญที่ระดับ .05 3) องค์ประกอบคัดสรรทุกตัวของแต่ละปัจจัยตาม แบบจำาลองสมการโครงสร้างคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา (ยกเว้นองค์ประกอบมาตรฐานของครู) เป็นองค์ประกอบคัดสรรเชิงยืนยันที่สำาคัญของแบบจำาลอง และ 4) แบบจำาลองสมการโครงสร้างเป็นไปตามข้อ ตกลงทางสถิติคือ Chi-square = 70.37, df = 60, P-value = 0.16917, RMSEA = 0.042 ดังนั้นจึงสรุปได้ ว่า โรงเรียนที่มีคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสูง ได้รับอิทธิพลทางตรงมาจาก 2 ปัจจัยด้านการจัดการ กระบวนการของสถานศึกษาในระดับปานกลาง (Direct Effect or DE = 0.75) และปัจจัยด้านการนำาองค์กร ของผู้นำาในระดับตำ่า (DE = 0.19) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ในทำานองเดียวกันได้รับอิทธิพลทางอ้อม จากปัจจัยด้านการนำาองค์กรของผู้นำาในระดับต่ำา (Indirect Effect or IE = 0.46) และ ปัจจัยด้านการวางแผน ยุทธศาสตร์ ในระดับตำ่า (IE = 0.25) โดยส่งผ่านปัจจัยด้านการจัดการกระบวนการ และพบว่า อิทธิพลทาง ตรงและทางอ้อมของตัวแปรทั้งสองด้านดังกล่าวสามารถทำานายคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาได้ร้อย ละ 50.20 อย่างมีนัยสำาคัญที่ระดับ .05 และเป็นที่สังเกตว่า การวางแผนยุทธศาสตร์ ไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อ คุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา อย่างมีนัยสำาคัญที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
จรัส รัตนทิพย์. (2544). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของคณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำานักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
นภวรรณ คณานุรักษ์. (2552). “ภาวะผู้นำาเพื่อองค์กรที่มีประสิทธิภาพ”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย หอการค้าไทย, 29(4), (ตุลาคม – ธันวาคม), 138 -139.
ประคอง สุขพุ่ม. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารโรงเรียนกับเจตคติ ของผู้ปกครองต่อโรงเรียนอำานวยพิทยา เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ปิยนุช กฤตนันท์. (2553). การวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัด สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพน้ืฐานในเขตตรวจราชการที่ 6 และ 7. คน้เมื่อ 15 ธันวาคม 2553, จาก http://www.inspect6.moe.go.th/ Piyanut/ piyanut1. htm.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.
สิทธิชัย เจริญพิวัฒพงษ์. (2552). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในตามแนวการบริหารงานแบบ มุ่งคุณภาพทั้งองค์การ สำาหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำาหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธาสินี วิยาภรณ์. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนกับผลการบริหาร งานโรงเรียน สังกัดสำานักงานการประถมศึกษา จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏนครปฐม
สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.). (2552). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร:ผู้แต่ง
สำานักงานรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2551). เกณฑ์การประเมิน คุณภาพสถานศึกษาสำาหรับการประเมินภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร (อัดสำาเนา).
สำานักงานรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2552). การแบ่งขนาดโรงเรียน ตามหลักการแบ่งที่ใช้ในการประเมินสถานศึกษา. ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2552, จาก http://www.ak sorn. com/news/news_detail.php?content_id=6830&Type_id=11.
อรสา ภาววิมล. (2553). การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาสำาหรับสถาบันอุดมศึกษาไทยตาม แนวคิดการจัดการความรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการ ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bartol, K. M., & Martin, D. C. (1998). Management. (3rd ed). New York: McGraw-Hill.
DuBrin, J. A. (1998). Leadership research findings, practice, and skills. New York: Houghton Mifflin.
Kline, R. B. (1998). Principles and practice of structural equation modeling. New York: Guild.
Lunenburg, F. & Ornstein, A. C. (2004). Educational administration: Concepts and practiccs. (2ndedn.). New York: Wadsworth.
Persons. (1993). The social system. Glencoe, Illinois: Free Press.
Steiger, J.H. (1990). “Structural model evaluation and modification: An internal estimation approach,” Multivariate Behavioral Research, 25(2), 173-180.
Sallis, J. F. (1993). “Epidemiology of physical activity and fitness in children and adolescents,” Critical Reviews in Food Science and Nutrition, 33(4/5), 403–408.
Ullman, J. B. (2001). Structural equation modeling, In B.G. Tabachnick, and L.S. Fidell. Using Multivariate Statistics, (4th ed.), 653-771. New York: Allyn & Bacon.